อิทธิพลของวัสดุพอลิเมอร์ต่อกำลังอัดแกนเดียวของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพผสมปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์

  • เกรียงศักดิ์ ปรึ่มพรชัย 0849586688
  • เสริมศักดิ์ ติยะแสงทอง
  • เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์
คำสำคัญ: ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ, ดินซีเมนต์, วัสดุพอลิเมอร์, ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์, กำลังอัดแกนเดียว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษากำลังอัดแกนเดียวของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 และวัสดุพอลิเมอร์ โดยใช้ปริมาณความชื้นเริ่มต้นของดินเหนียวอ่อนเท่ากับ 1.0LL 1.5LL และ 2.0LL และอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์เท่ากับ 1.0 วัสดุพอลิเมอร์ที่ใช้ในงานวิจัยนี้ได้แก่ โพลีเอทิลีนไกลคอล (PEG) โพลีไวนิลแอลกอฮอล์ (PVA) และโพลีไวนิลไพโรลิโดน (PVP) ความเข้มข้นของวัสดุพอลิเมอร์ร้อยละ 1 3 5 และ 7 ของปริมาตรน้ำ ทดสอบกำลังอัดแกนเดียวของตัวอย่างที่อายุบ่ม 7 และ 28 วัน ผลการทดสอบพบว่า ค่าความชื้นเริ่มต้นของดินเท่ากับ 1.0LL และความเข้มข้นของวัสดุพอลิเมอร์ร้อยละ 3 ของปริมาตรน้ำ ให้ค่ากำลังอัดแกนเดียวสูงสุด ที่อายุบ่ม 28 วัน มีค่าเท่ากับ 1.20 1.12 และ 1.04 MPa สำหรับ PEG PVA และ PVP ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐานกรมทางหลวง การใช้วัสดุพอลิเมอร์ในดินเหนียวอ่อนกรุงเทพปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ไม่เพียงแค่ปรับปรุงค่ากำลังอัดแกนเดียว แต่ยังเพิ่มค่าความเหนียวของตัวอย่างอีกด้วย

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-20

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>