การปรับปรุงดินลูกรังไม่ผ่านมาตรฐานด้วยสารอัลคาร์ไลน์เศษคอนกรีตและเถ้าชานอ้อย
คำสำคัญ:
ดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐาน, เศษคอนกรีต, เถ้าชานอ้อย, สารอัลคาร์ไลน์, การปรับปรุงคุณภาพดินบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงคุณภาพดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐาน (CL) ด้วยสารอัลคาร์ไลน์ เศษคอนกรีต และเถ้าชานอ้อย โดยใช้เถ้าชานอ้อย (BA) และเศษคอนกรีต (RCP) เป็นสารตั้งต้น และ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เป็นสารละลาย Alkali activator เพื่อนำวัสดุที่เหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์สำหรับงานถนน งานวิจัยนี้ศึกษากำลังอัดของดินที่ถูกปรับปรุงแปรผันตามอัตราส่วนผสมของดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐาน ต่ออัตราส่วนสารเชื่อมประสานเท่ากับ 90:10 อัตราส่วนเศษคอนกรีตต่อเถ้าชานอ้อยที่ 100:0, 70:25, 66:33, 50:50, 33:66, 25:75 และ 0:100 ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดร็อกไซด์เท่ากับ 8 โมลาร์ การทดสอบกำลังอัดแกนเดียวทดสอบที่สภาวะ แช่น้ำ แปรผันอายุบ่มที่ 7 และ 28 วัน และแปรผันความชื้นที่ 0.8OWC, OWC และ 1.2OWC ผลการทดสอบพบว่าค่ากำลังอัดสูงสุดพบที่ปริมาณความชื้นที่เหมาะสม ที่อัตราส่วนผสมเศษคอนกรีตต่อเถ้าชานอ้อยที่ 25:75 (OWC = 737 kPa.) ที่อายุบ่ม 28 วัน ดังนั้น มีความเป็นไปได้ที่จะนำไปปรับใช้กับงานมาตรฐานรองพื้นทาง สำหรับงานถนน
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์