กำลังอัดและกำลังดัดของเถ้าชีวมวล จีโอโพลิเมอร์มอร์ตาร์

  • ธาฬิณ ดีสวัสดิ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
  • เสริมศักดิ์ ติยะแสงทอง สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชสีมา
  • เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์ สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชสีมา
  • วิศิษฏ์ศักดิ์ ทับยัง สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา
  • นันทชัย ชูศิลป์ สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา
  • จุฑามาศ ลักษณะกิจ สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา
คำสำคัญ: เถ้าชีวมวล จีโอโพลิเมอร์, กำลังอัด, กำลังดัด, โซเดียมซิลิเกต, โซเดียมไฮดรอกไซด์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาหน่วยน้ำหนักและกำลังอัดของเถ้าชีวมวล จีโอโพลิเมอร์มอร์ตาร์เถ้าชีวมวลเป็นผลพลอยได้จากโรงงานผลิตไฟฟ้า จ.สงขลา งานวิจัยนี้ใช้อัตราส่วนทรายต่อเถ้าชีวมวลต่อปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เท่ากับ 50:50:0, 50:45:5, 50:40:10, 50:35:15, 50:30:20, 50:25:25 และ 50:20:30 อัตราส่วนของสารละลายโซเดียมซิลิเกต (Na2SiO3) ต่อสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เท่ากับ 70:30 และความเข้มข้นของสารละลาย NaOH เท่ากับ 8 โมลาร์ ทดสอบกำลังอัดและหน่วยน้ำหนักของเถ้าชีวมวล จีโอโพลิเมอร์มอร์ตาร์ ที่อายุบ่ม 7 วัน ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าหน่วยน้ำหนักของ เถ้าชีวมวล จีโอโพลิเมอร์มอร์ตาร์มีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณปูนซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้น กำลังอัดสูงสุดของตัวอย่างเถ้าชีวมวล จีโอโพลิเมอร์มอร์ตาร์มีค่าเท่ากับ 340 ksc ที่อัตราส่วนทรายต่อเถ้าชีวมวลต่อปูนซีเมนต์ เท่ากับ 50:25:25

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-05
สาขาของบทความ
วิศวกรรมวัสดุก่อสร้าง

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้