การพัฒนากำลังอัดดินเหนียวปนดินตะกอนด้วยกากแคลเซียมคาร์ไบด์และเถ้าชานอ้อยจีโอโพลิเมอร์แบบผงสำหรับงานโครงสร้างถนน
คำสำคัญ:
ดินเหนียวปนดินตะกอน, กำลังอัดแกนเดียว, กากแคลเซียมคาร์ไบด์, เถ้าชานอ้อย, โซเดียมไฮดรอกไซด์แบบเกล็ดบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงดินเหนียวปนดินตะกอนโดยใช้กากแคลเซียมคาร์ไบด์และเถ้าชานอ้อยและใช้สารเร่งปฏิกิริยา คือ โซเดียมไฮดร็อกไซด์แบบเกล็ด (NaOH) ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่อัตราส่วนดินเหนียวปนดินตะกอนต่อวัสดุประสานเท่ากับ 80:20 อัตราส่วนวัสดุประสานกากแคลเซียมคาร์ไบด์ (CCR) ต่อเถ้าชานอ้อย (BA) เท่ากับ 10:90, 20:80, 30:70, 40:60, 50:50 และ 60:40 ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดร็อกไซด์เท่ากับ 5 โมลาร์ อายุบ่มตัวอย่างเท่ากับ 7, 14 และ 28 วัน แปรผันความชื้นที่ ร้อยละ 80, 100 และ 120 ตามลำดับจากนั้นทำการทดสอบกำลังอัดแกนเดียว (USC) ของดินที่ปรับปรุงคุณภาพ จากผลการทดสอบกำลังอัดพบว่าค่ากำลังอัดแกนเดียวมีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณ กากแคลเซียมคาร์ไบด์ที่เพิ่มขึ้น โดยพบที่ปริมาณความชื้นที่จุดเหมาะสม อัตราส่วนที่เหมาะสม CCR:BA เท่ากับ 50:50 มีค่ากำลังอัดเท่ากับ 1,530 kPa จะให้ค่ากำลังอัดสูงที่สุด นอกจากนี้ค่ากำลังอัดจะมีค่าสูงขึ้นตามระยะเวลาอายุบ่มที่เพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 28 วัน
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์