การปรับปรุงดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐานโดยใช้เถ้าชีวมวล จีโอโพลิเมอร์

  • ยงยุทธ บำรุงพล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
  • เสริมศักดิ์ ติยะแสงทอง สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชสีมา
  • เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์ สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชสีมา
  • วิศิษฏ์ศักดิ์ ทับยัง สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา
  • นันทชัย ชูศิลป์ สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา
  • จุฑามาศ ลักษณะกิจ สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา
คำสำคัญ: การปรับปรุงคุณภาพดิน, ดินลูกรัง, เถ้าชีวมวล, จีโอโพลิเมอร์, สารละลายอัลคาไลน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษากำลังอัดแกนเดียวและกำลังการรับแรงดึงทางอ้อมของดินลูกรังโดยการใช้เถ้าชีวมวล จีโอโพลิเมอร์ ดินลูกรังที่ใช้ในงานวิจัยเป็นดินลูกรังที่ไม่ผ่านมาตรฐานของกรมทางหลวง สารละลายโซเดียมซิลิเกต (Na2SiO3, NS) และโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH, NH) เป็นส่วนผสมของสารละลายอัลคาไลน์ งานวิจัยนี้จึงศึกษาอัตราส่วนของดินลูกรังต่อเถ้าชีวมวลเท่ากับ 90:10 อัตราส่วน NS/NH เท่ากับ 10:90 30:70 และ 50:50 และความเข้มข้นของ NH เท่ากับ 8 โมลาร์ ทดสอบกำลังแบบแช่น้ำและแบบไม่แช่น้ำของตัวอย่างที่อายุบ่ม 7 วัน กำลังอัดแกนเดียวสูงสุดและกำลังการรับแรงดึงทางอ้อมสูงสุดของดินลูกรังโดยการใช้เถ้าชีวมวล จีโอโพลิเมอร์ พบที่อัตราส่วนดินลูกรังต่อเถ้าชีวมวลเท่ากับ 90:10 และอัตราส่วนของ NS/NH เท่ากับ 50:50 ซึ่งให้ค่ากำลังอัดแกนเดียวแบบแช่น้ำและไม่แช่น้ำเท่ากับ 972 และ 1,066 kPa และค่ากำลังการรับแรงดึงทางอ้อมแบบแช่น้ำและไม่แช่น้ำเท่ากับ 135 และ 137 kPa ตามลำดับ

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-20

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้