การปรับปรุงคุณภาพดินเหนียวปนตะกอนด้วยสารอัคคาร์ไลน์เศษคอนกรีตและเถ้าชานอ้อย

ผู้แต่ง

  • นายกุลศุภณัช พรมมา ภาควิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • ชยกฤต เพชรช่วย สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชสีมา
  • เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชสีมา
  • จักษดา ธำรงวุฒิ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชสีมา

คำสำคัญ:

ดินเหนียวปนตะกอน, เศษคอนกรีต, เถ้าชานอ้อย, สารอัลคาร์ไลน์, การปรับปรุงคุณภาพดิน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงคุณภาพดินเหนียวปนตะกอนด้วยสารอัลคาร์ไลน์ เศษคอนกรีต และเถ้าชานอ้อย โดยใช้เถ้าชานอ้อย (BA) และเศษคอนกรีต (RC) เป็นสารตั้งต้น และ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เป็นสารละลาย Alkali activator เพื่อนำวัสดุที่เหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์สำหรับงานถนน งานวิจัยนี้นี้ศึกษากำลังอัดของดินที่ถูกปรับปรุงแปรผันตามอัตราส่วนผสมดินเหนียวปนดินตะกอนต่ออัตราส่วนสารเชื่อมประสานเท่ากับ 70:30 อัตราส่วนเศษคอนกรีตต่อเถ้าชานอ้อยที่ 100:0, 70:25, 50:50 และ 25:75 ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ     8 โมลาร์ การทดสอบกำลังอัดแกนเดียวทดสอบที่ 2 สภาวะ ได้แก่ แบบแช่น้ำ และไม่แช่น้ำ แปรผันอายุบ่มที่ 7 และ 28 วัน และแปรผันความชื้นที่ 0.8OWC, OWC และ 1.2OWC ผลการทดสอบพบว่าค่ากำลังอัดสูงสุดพบที่ปริมาณความชื้นที่เหมาะสมที่อัตราส่วนผสม อัตราส่วนเศษคอนกรีตต่อเถ้าชานอ้อยที่ 100:0 (OWC = 3,140 kPa.) สำหรับการทดสอบแบบไม่แช่น้ำ นอกจากนี้พบว่าสำหรับการทดสอบแบบแช่น้ำตัวอย่างส่วนใหญ่เสียหาย โดยกำลังอัดที่สูงที่สุดพบที่อัตราส่วนเศษคอนกรีตต่อเถ้าชานอ้อยที่ 50:50 ที่ความชื้น 1.2OWC ที่อายุบ่ม 7 วัน จะได้กำลังอัดที่สูงที่สุดที่ 817 kPa. อีกทั้งกำลังอัดมีค่าสูงขึ้นตามอายุการบ่มที่ 28 วัน ในทุกอัตราส่วนผสม ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปปรับใช้กับงานมาตรฐานรองพื้นทางสำหรับงานถนน

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-20

วิธีการอ้างอิง

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##

1 2 > >>