Improvement of silty clay with alkali activated recycle concrete and bagasse ash.
Keywords:
Silty clay, recycle concrete, bagasse ash, alkaline activator, soil improvementAbstract
งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงคุณภาพดินเหนียวปนตะกอนด้วยสารอัลคาร์ไลน์ เศษคอนกรีต และเถ้าชานอ้อย โดยใช้เถ้าชานอ้อย (BA) และเศษคอนกรีต (RC) เป็นสารตั้งต้น และ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เป็นสารละลาย Alkali activator เพื่อนำวัสดุที่เหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์สำหรับงานถนน งานวิจัยนี้นี้ศึกษากำลังอัดของดินที่ถูกปรับปรุงแปรผันตามอัตราส่วนผสมดินเหนียวปนดินตะกอนต่ออัตราส่วนสารเชื่อมประสานเท่ากับ 70:30 อัตราส่วนเศษคอนกรีตต่อเถ้าชานอ้อยที่ 100:0, 70:25, 50:50 และ 25:75 ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ 8 โมลาร์ การทดสอบกำลังอัดแกนเดียวทดสอบที่ 2 สภาวะ ได้แก่ แบบแช่น้ำ และไม่แช่น้ำ แปรผันอายุบ่มที่ 7 และ 28 วัน และแปรผันความชื้นที่ 0.8OWC, OWC และ 1.2OWC ผลการทดสอบพบว่าค่ากำลังอัดสูงสุดพบที่ปริมาณความชื้นที่เหมาะสมที่อัตราส่วนผสม อัตราส่วนเศษคอนกรีตต่อเถ้าชานอ้อยที่ 100:0 (OWC = 3,140 kPa.) สำหรับการทดสอบแบบไม่แช่น้ำ นอกจากนี้พบว่าสำหรับการทดสอบแบบแช่น้ำตัวอย่างส่วนใหญ่เสียหาย โดยกำลังอัดที่สูงที่สุดพบที่อัตราส่วนเศษคอนกรีตต่อเถ้าชานอ้อยที่ 50:50 ที่ความชื้น 1.2OWC ที่อายุบ่ม 7 วัน จะได้กำลังอัดที่สูงที่สุดที่ 817 kPa. อีกทั้งกำลังอัดมีค่าสูงขึ้นตามอายุการบ่มที่ 28 วัน ในทุกอัตราส่วนผสม ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปปรับใช้กับงานมาตรฐานรองพื้นทางสำหรับงานถนน
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์