การบริหารวัสดุคงคลังในธุรกิจก่อสร้างขนาดเล็ก
คำสำคัญ:
วัสดุคงคลัง, การบริหารวัสดุคงคลัง, การวิเคราะห์แบบเอบีซี, การจัดการวัสดุก่อสร้างบทคัดย่อ
งานศึกษานี้ได้ดำเนินการศึกษาโดยการนำเสนอแนวทางในการบริหารวัสดุคงคลังซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการวัสดุก่อสร้างของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขนาดเล็กซึ่งต้องจัดการวัสดุคงคลังที่มีปริมาณมากและหลายชนิดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้เครื่องมือที่ช่วยในการบริหารจัดการวัสดุคงคลังคือ การจำแนกประเภทวัสดุคงคลังตามทฤษฎี ABC Classification System เพื่อนำมาใช้ในการจำแนกความสำคัญของวัสดุคงคลังโดยจะแบ่งประเภทของวัสดุคงคลังออกเป็น 3 กลุ่มคือกลุ่ม A,B และ C โดยกลุ่ม A คือกลุ่มวัสดุที่มีมูลค่าและอัตราการหมุนเวียนของวัสดุสูงสุดรองลงมาคือกลุ่ม B และกลุ่ม C ตามลำดับ ซึ่งจะวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รวบรวมจากฝ่ายจัดซื้อและฝ่ายคลังวัสดุ เช่น รายการวัสดุที่มีการเบิกปริมาณการเบิกใช้วัสดุในแต่ละเดือน และราคาต่อหน่วยของวัสดุในช่วงเวลานั้น ๆ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคมในปี พ.ศ.2561 และเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคมในปีพ.ศ.2562 จากนั้นจึงนำมาคำนวณหามูลค่าวัสดุคงคลังแต่ละรายการและจำแนกวัสดุคงคลังออกเป็นสามกลุ่ม
ผลการศึกษาการจัดแบ่งกลุ่มวัสดุคงคลังในคลังวัสดุก่อสร้างของธุรกิจก่อสร้างขนาดเล็กพบว่ามีวัสดุที่ถูกเบิกใช้จำนวน 162 รายการ โดยแบ่งออกเป็นกลุ่ม A 20 รายการ วัสดุกลุ่ม B 26 รายการ และกลุ่ม C 116 รายการ โดยผลของการศึกษาจะสามารถนำไปกำหนดนโยบายในการควบคุมวัสดุคงคลังแต่กลุ่มอย่างเหมาะสมและสามารถลดต้นทุนวัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็นได้
##plugins.generic.usageStats.downloads##
เอกสารอ้างอิง
[1] วิจัยกรุงศรี (2562). ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง. แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2562-2564. มิถุนายน 2562, หน้า 1-12.
[2] กิติยา ไกรสรกุล (2554). การปรับปรุงข้อกำหนดสัญญาเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดหาวัสดุในโครงการก่อสร้าง, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[3] สกุลศักดิ์ ญาติฝูง (2555). การวิเคราะห์ความสูญเปล่าในการขนส่งวัสดุเข้าสู่พื้นที่ก่อสร้าง, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[4] Said, H., & El-Rayes, K. (2011). Optimizing material procurement and storage on construction sites. Journal of Construction Engineering and Management, 137(6), pp.421-431.
[5] Kasim, N. (2011). ICT implementation for materials management in construction projects: case studies. Journal of Construction Engineering and Project Management, 1(1), pp.31-36.
[6] ตวงสุข ทวีสุขเกษม (2532). การศึกษาระบบการจัดการวัสดุ สำหรับโครงการก่อสร้างอาคาร, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[7] กิ่งกาญจน์ ผลิกะ และ นพปฎล สุวรรณทรัพย์ (2559). การบริหารสินค้าคงคลังโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABC Classification Analysis เทคนิค EOQ Model และวิธี Silver-Meal: กรณีศึกษา บริษัท XYZ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ 11, ฉบับที่ 1, หน้า 102-114.
[8] นิคุณ สายวงค์เปียง (2554). การศึกษาปัญหาด้านการจัดการวัสดุของบริษัทก่อสร้าง, โครงงานวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
[9] Pimpun Ngampak and Kongkoon Tochaiwat (2013). Guidelines to Reduce the Construction Costs of Lower-Tier Single Detach Houses of Registered Entrepreneurs. Build Environment Research Associates Conference (BERAC4), Faculty of Architecture and Planning, Thamasat University, 23 May 2013, pp.1-6.
[10] อุดม ตั้งล้ำเลิศ (2551). การพยากรณ์ยอดขายและการลดต้นทุนสินค้าคงคลังในอุตสาหกรรมไม้พื้นสำเร็จรูปลามิเนต, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[11] Tanubrata, M., & Gunawan, I. (2018). Procurement management/material supply on construction projects. In MATEC Web of Conferences (Vol. 215, p. 01031). EDP Sciences.
[12] สมชาย โพพาทอง (2554). การศึกษากระบวนการจัดการวัสดุก่อสร้างของบริษัทรับสร้างบ้าน, วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[13] สุพรพันธ์ จิตธรรม (2554). การจัดการสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจบริการอาหารแช่แข็งนำเข้าจากต่างประเทศ, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[14] นที เอื้อสมิทธิ์ (2554). การพัฒนาระบบการจัดการคลังพัสดุ: กรณีศึกษาร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[15] จีรวัฒน์ นภาสุขวีระมงคล (2558). การบริหารวัสดุคงคลัง ประเภทวัสดุสนับสนุนการผลิตโดยใช้การจำลองสถานการณ์: กรณีศึกษาโรงงานแปรรูปกระจก, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[16] Hanafi, R., Mardin, F., Asmal, S., Setiawan, I., & Wijaya, S. (2019, October). Toward a green inventory controlling using the ABC classification analysis: A case of motorcycle spares parts shop. In IOP Conference Series: Earth and Environmental Science (Vol. 343, No. 1, p. 012012). IOP Publishing.
[17] เฉลิมพล เปล่งวัฒน์ (2552). การปรับปรุงระบบการบริหารวัสดุคงคลังในอุตสาหกรรมก๊าซและปิโตรเลียมในประเทศไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[18] กัญชลา สุดตาชาติ (2548). การพัฒนาระบบจัดการสินค้าคงคลัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์