การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงพฤติกรรมของการยอมรับมาตรการด้านราคาการใช้ถนนในพื้นที่เมืองเชียงใหม่
บทคัดย่อ
การเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมของจังหวัดเชียงใหม่ส่งผลต่อการขยายตัวทางด้านการค้า การใช้ประโยชน์ที่ดิน ทั้งเชิงพาณิชย์ และที่อยู่อาศัย รวมถึงการเดินทางที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเข้าสู่ศูนย์กลางเมืองที่เป็นแหล่งดึงดูดกิจกรรมการเดินทาง ทำให้เกิดการจราจรที่แออัดบริเวณเขตเมืองเชียงใหม่ แนวทางการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด จากการศึกษาที่ผ่านมานโยบายที่มีประสิทธิภาพที่ประสบความสำเร็จในทางปฏิบัติ อาทิ การเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนน การเก็บค่าธรรมเนียมการเข้าพื้นที่ในประเทศสิงคโปร์ และประเทศอังกฤษ อย่างไรก็ตามการนำนโยบายดังกล่าวไปปฏิบัติในต่างพื้นที่จำเป็นที่จะต้องได้รับการยอมรับจากผู้ใช้ยานพาหนะส่วนใหญ่ และในหลายเมืองพบว่าไม่สามารถดำเนินการได้ในทางปฏิบัติ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับมาตรการจัดการ อุปสงค์การเดินทาง โดยการเสียค่าธรรมเนียมการใช้ถนนภายในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ และรถยนต์จำนวน 120 ตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยในการยอมรับมาตรการด้านราคาการใช้ถนนในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) โดยจะทำการสอบถามความคิดเห็นในการยินยอมจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้ถนนภายในบริเวณถนนวงหวนมหิดล สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนโยบายด้านราคา ประกอบด้วย ปัจจัยด้านความเชื่อ (Awareness of Consequences) ปัจจัยด้านความรู้สึก (Anticipated Emotion) ปัจจัยด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (Subjective Norm) และพฤติกรรมในอดีต (Past Behavior)
จำนวนการดาวน์โหลด
รายการอ้างอิง
Schade. J and Schlag. B. (2003). Acceptability of urban transport pricing strategies. Transportation Research F 6: 45-61.
Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์