การวิเคราะห์ความล่าช้าของการก่อสร้าง กรณีศึกษาอาคารชุดที่พักอาศัยรวมในจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
อาคารชุดที่พักอาศัยรวม, ความล่าช้าของการก่อสร้าง, การวิเคราะห์ความล่าช้า, Microsoft project, วิธีการวิเคราะห์โดยลดเวลาของแผนงานที่ก่อสร้างจริง (Collapsed As – built Analysis)บทคัดย่อ
การก่อสร้างโครงการอาคารชุดที่พักอาศัยรวม มีปัจจัยความเสี่ยงหลายด้านทั้งภายในและภายนอก ที่ส่งผลกระทบต่อระยะเวลาการก่อสร้าง ทำให้ส่งผลกระทบเชิงลบกับทั้ง 2 ฝ่ายคือ เจ้าของโครงการ และ ผู้รับจ้างดำเนินการก่อสร้างโครงการ การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความล่าช้าของการก่อสร้างโครงการ รวมถึงขอบเขตของผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อความล่าช้าที่เกิดขึ้น ทำให้สามารถป้องกันและลดผลกระทบต่อการดำเนินการก่อสร้างโครงการอย่างเหมาะสมในอนาคต ผู้วิจัยได้คัดเลือกโครงการก่อสร้างกรณีศึกษาอาคารชุดที่พักอาศัยรวม 7 ชั้นความสูงไม่เกิน 23 เมตร ภายในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีการปฏิบัติงานก่อสร้างล่าช้ากว่าแผนงานที่กำหนด จำนวน 1 โครงการ โดยใช้โปรแกรมไมโครซ๊อฟท์ โปรเจค ในการรวบรวมข้อมูลแผนงานก่อสร้าง และวิเคราะห์แผนงานด้วยวิธีการวิเคราะห์โดยลดเวลาของแผนงานที่ก่อสร้างจริง ผลจากการวิจัยครั้งนี้ทำให้สามารถแบ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความล่าช้าของโครงการกรณีศึกษาได้ 7 ปัจจัย โดยพิจารณาจากปัจจัยทั้งหมดที่กระทบต่อความล่าช้าของแต่ละกิจกรรมในการก่อสร้าง และเมื่อวิเคราะห์แผนงานด้วยวิธีการวิเคราะห์โดยลดเวลาของแผนงานที่ก่อสร้างจริงแล้ว ทำให้ทราบจำนวนวันที่พบ และ จำนวนวันที่กระทบต่อระยะเวลาก่อสร้างของโครงการในแต่ละปัจจัย ซึ่งนำไปสู่การแบ่งขอบเขตความรับผิดชอบต่อความล่าช้าที่เกิดขึ้น คือ ความล่าช้าที่ผู้รับจ้างต้องรับผิดชอบ จำนวน 5 ปัจจัย ความล่าช้าที่ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดชอบ จำนวน 1 ปัจจัย และ ความล่าช้าที่สามารถเรียกร้องค่าชดเชยได้ จำนวน 1 ปัจจัย โดยประโยชน์ของการวิจัยทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเวลาในการก่อสร้างโครงการอาคารชุดที่พักอาศัยรวมในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้สามารถนำไปเป็นข้อมูลอ้างอิงและป้องกันในการดำเนินการก่อสร้างโครงการในลักษณะคล้ายคลึงกันต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์