การพัฒนาแบบจำลองอุปสงค์และการจราจรของลิฟต์โดยสาร ในบริบทโลจิสติกส์โรงพยาบาล
บทคัดย่อ
ภายใต้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมผู้สูงอายุ กอปรกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤติปัญหาความแออัดและการจัดการโลจิสติกส์โรงพยาบาลจากปริมาณผู้ป่วยและผู้ใช้บริการสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อระดับการให้บริการสุขภาพของโรงพยาบาล งานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อหาแนวทางบรรเทาปัญหาโลจิสติกส์โรงพยาบาล มุ่งเน้นการสัญจรภายในอาคารโรงพยาบาลด้วยลิฟต์โดยสาร โดยได้พัฒนาแบบจำลองการจราจรของลิฟต์โดยสารด้วยโปรแกรม ARENA ภายใต้ทฤษฎีแถวคอยและการจําลองสถานการณ์ อาศัยข้อมูลสำรวจผู้ใช้บริการลิฟต์โดยสารจำนวน 6 ตัว ของอาคารศรีพัฒน์ ขนาด 15 ชั้น ภายในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบแบบจำลองรูปแบบการให้บริการ 3 รูปแบบ คือ แบบอิสระให้ลิฟต์จอดได้ทุกชั้น แบบแบ่งตามชั้นเลขคู่และเลขคี่ และแบบแบ่งตามระดับความสูงของชั้น พบว่า การจัดสรรลิฟต์แบบแบ่งตามระดับความสูงชั้น เป็นรูปแบบที่เพิ่มประสิทธิภาพการใหบริการดีที่สุด โดยรองรับผู้ใช้บริการในระบบได้สูงถึง 338 คน/นาที ใช้ระยะเวลาในแถวคอยเฉลี่ยน้อยที่สุด (1.85 นาที) และระยะเวลาในระบบเฉลี่ยน้อยที่สุด (5.94 นาที)
จำนวนการดาวน์โหลด
รายการอ้างอิง
Ahn, Y., Kowada, T., Tsukaguchi, H. and Vandebone, U. (2017) Estimation of Passenger Flow for Planning and Management of Railway Stations, Transportation Research Procedia, vol.25, pp.315-330.
Berner, G. (2003). Elevator Traffic Handbook: Theory and Practice. New York: Taylor & Francis Routledge
Horejsi, J., Horejsi, P. and Latif, M. (2011). Strategies for an elevator dispatcher system, MM Science Journal, July 2011, pp 234-238
Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์