การวิเคราะห์การจัดการอุปสงค์การเดินทางเพื่อสนับสนุนระบบขนส่งสาธารณะในเมืองเชียงใหม่

  • กานต์ชนก ทองทิพย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อรรถวิทย์ อุปโยคิน
  • เกรียงไกร อรุโณทยานันท์
  • สุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์
คำสำคัญ: การจราจรติดขัด,, การจัดการอุปสงค์การเดินทาง,, การวิเคราะห์สวอท,, การวิเคราะห์ความสอดคล้อง,, เทคนิคเดลฟาย

บทคัดย่อ

ปัญหาการจราจรติดขัดในเมืองเชียงใหม่ช่วงเวลาเร่งด่วน เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เกิดความล่าช้าในการเดินทาง วิธีที่นิยมใช้ในการบรรเทาการจราจรติดขัด คือ การจัดการอุปสงค์การเดินทาง (Travel Demand Management) เนื่องจากเป็นการควบคุม หรือลดการเดินทางโดยรถส่วนบุคคล และสนับสนุนการเดินทางรูปแบบอื่นแทนการใช้รถส่วนบุคคล งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกรอบงานในการวิเคราะห์หาปัจจัยในการกำหนดมาตรการจัดการอุปสงค์การเดินทางที่เหมาะสม สำหรับหน่วยงานท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการคัดกรองด้วยวิธีการวิเคราะห์สวอท (SWOT) และจัดอันดับความสำคัญของปัจจัยโดยใช้เทคนิคความสอดคล้อง (Concordance technique) การศึกษานี้ได้สำรวจข้อมูลเชิงลึกจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาการจราจรในเมืองเชียงใหม่ ผลการศึกษาทำให้ทราบข้อได้เปรียบ และข้อจำกัดของแต่ละมาตรการ รวมถึงความสำคัญของปัจจัยต่าง ๆ เช่น ปัจจัยด้านผลกระทบต่อประชาชน ปัจจัยด้านการยอมรับ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในเมืองเชียงใหม่

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-08
How to Cite
[1]
ทองทิพย์ก., อุปโยคินอ., อรุโณทยานันท์เ. และ พิริยะวัฒน์ส. 2020. การวิเคราะห์การจัดการอุปสงค์การเดินทางเพื่อสนับสนุนระบบขนส่งสาธารณะในเมืองเชียงใหม่. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), TRL19.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>