กำลังอัดและการซึมผ่านน้ำของคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็ก

  • ลีน่า ปรัก
  • ทวีชัย สำราญวานิช ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
คำสำคัญ: กำลังอัด, การซึมผ่านน้ำ, คอนกรีต, เส้นใยเหล็ก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษากำลังอัดและการซึมผ่านน้ำของคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็ก โดยใช้คอนกรีตซีเมนต์ล้วนที่อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน (w/b) 0.50 และ 0.60 ผสมเส้นใยเหล็กที่ 0.5% และ 1.0% โดยปริมาตรของคอนกรีต ทดสอบกำลังอัดและการซึมผ่านน้ำที่อายุ 7 วัน และ 28 วัน จากผลการศึกษาพบว่า การใช้ปริมาณเส้นใยเหล็ก 0.5% โดยปริมาตรของคอนกรีต ส่งผลให้คอนกรีตมีค่ากำลังอัดสูงที่สุดและอัตราการซึมผ่านน้ำต่ำที่สุดทั้งคอนกรีตที่ใช้ w/b ที่ 0.50 และ 0.60 แต่เมื่อใช้ปริมาณเส้นใยเหล็กสูงมากกว่า 0.5% กลับทำให้กำลังอัดต่ำลงและการซึมผ่านน้ำสูงขึ้น ซึ่งเป็นเพราะว่าปริมาณเส้นใยเหล็กที่มากเกินไปทำให้เกิดมีโพรงช่องว่างระหว่างเส้นใยและเนื้อคอนกรีต ส่งผลให้คอนกรีตมีความพรุนและการซึมผ่านน้ำสูง และกำลังอัดคอนกรีตต่ำลง

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

รายการอ้างอิง

[1] ปริญญา จินดาประเสริฐ, ชัย จาตุรพิทักษ์กุล, 2547. ปูนซีเมนต์ ปอซโซลาน และคอนกรีต. พิมพ์ครั้งที่ 1.
[2] Fajardo, G., Valdez, P. and Pacheco, J. (2009). Corrosion of steel rebar embedded in natural pozzolan based mortars exposed to chlorides. Construction and Building Materials, 23, pp. 768–74.
[3] S. Mindess, 1981. Concrete. Prentice-Hall, Inc.
[4] Gizybowski, M. and Shah, S.P. (1990). Shrinkage cracking of fiber reinforced concrete. ACI Materials Journal, 87(2), pp. 138-148.
[5] Padron, I. and Zollo, R.F. (1990). Effect of synthetic fibers on volume stability and cracking of Portland cement concrete and mortar. ACI Materials Journal, 87(4), pp. 327-332.
[6] Sanjuán, M. A. and Moragues, A. (1997). Polypropylene-fibre-reinforced mortar mixes: optimization to control plastic shringkage. Composites Science and Technology, 57, pp. 655-660.
[7] Puertas, F. Amat, T. Fernández-Jiménez, A. and Vázquez, T. (2003). Mechanical and durable behavior of alkaline cement mortars reinforced with polypropylene fibres. Cement and Concrete Research, 33, pp. 2031-2036.
[8] Song, P.S., Hwang, S. and Sheu, B.C. (2005). Strength properties of nylon- and polypropylene-fiber-reinforced concretes. Cement and Concrete Research, 35, pp. 1546-1550.
[9] Antonaci, P. Bocca, P. and Grazzini, A. (2006). In situ determination of toughness indices of fibre reinforced concrete. Materials and Structures, 39, pp. 283-290.
[10] ปรัชญา จูเหล็ง และนัฐภา ภาระศรี (2547). การศึกษาพลังงานการแตกร้าวของคอนกรีตและกำลังรับแรงดัดของคอนกรีตเสริมเหล็กผสมไฟเบอร์. ปริญญานิพนธ์ตามหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี.
[11] ทวีชัย สำราญวานิช อภินันท์ ภู่ชัน และสุรสิทธิ์ หมั่นวิชา (2550). พฤติกรรมและวิธีการคำนวณกำลังรับแรงดัดของคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ผสมเส้นใย. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 30(2) เมษายน-มิถุนายน
[12] ASTM C 39 (2004). Standard Test Method for Compressive Strength of Cylindrical Concrete Specimens.
[13] STM C 617 (2004). Standard Test Method for Capping Cylindrical Concrete Specimens.
[14] BS EN 12390-8 (2009). Testing hardened concrete-Part 8: Depth of penetration of water under pressure.
[15] กิตติศักดิ์ นนทเขตขยัน และภาณุมาศ ดวงสิทธิโชค (2548). คุณสมบัติเชิงกลของคอนกรีตและมอร์ต้าร์ที่ผสมไฟเบอร์. ปริญญานิพนธ์ตามหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี.
[16] อภินันท์ ภูชัน และสุรสิทธิ์ หมั่นวิชา (2548). พฤติกรรมและการคำนวณกำลังรับแรงดัดของคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ผสมไฟเบอร์. ปริญญานิพนธ์ตามหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี.
[17] สราวุฒิ อินทรบ และกิติศักดิ์ ใจตรง (2549). การศึกษาพฤติกรรมของพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กทางเดียวที่ผสมเส้นใยเหล็ก. ปริญญานิพนธ์ตามหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี.
เผยแพร่แล้ว
2020-07-07

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้