ความต้านทานคลอไรด์และกำลังอัดของคอนกรีตที่ผสมซีโอไลท์สังเคราะห์
คำสำคัญ:
ความต้านทานคลอไรด์, คอนกรีต, ซีโอไลท์สังเคราะห์, กำลังอัดบทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์และกำลังอัดของคอนกรีตผสมซีโอไลท์สังเคราะห์ โดยวัสดุประสานที่ใช้ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 และซีโอไลท์สังเคราะห์ ใช้อัตราส่วนซีโอไลท์สังเคราะห์ต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.01, 0.03, 0.05 และ 0.10 ใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.50 และ 0.60 การแทรกซึมคลอไรด์แบบเร่งและกำลังอัดของคอนกรีตทดสอบที่ระยะเวลาบ่มน้ำ 7, 28, 56 และ 91 วัน จากผลการทดลองพบว่า คอนกรีตที่ผสมซีโอไลท์สังเคราะห์มีความต้านทานคลอไรด์ดีกว่าคอนกรีตล้วนทุกอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน โดยคอนกรีตที่ใช้อัตราส่วนซีโอไลท์สังเคราะห์ต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.03 มีความต้านทานคลอไรด์ดีที่สุด แต่คอนกรีตที่ผสมซีโอไลท์สังเคราะห์มีกำลังอัดต่ำกว่าคอนกรีตล้วน
Downloads
เอกสารอ้างอิง
[2] Tangtermsirikul, S. (2003). Durability and mix design of concrete (1st edition). Pathum Thani: Thammasat University, Rangsit Campus.
[3] Davis, M.E. (1991). Zeolite and molecular sieve : not just ordinary catalyst. Ind. Eng. Cham. Res., 30, pp. 1675-1683.
[4] Najimi, M., Sobhani, J., Ahmadi, B. and Shekarch, M. (2012). An experimental study on durability properties of concrete containing zeolite as a highly reactive natural pozzolan. Construction and Building Materials, 35, pp. 1023–1033.
[5] American Society for Testing and Materials (ASTM). (2000). ASTM C1202, Standard test method for electrical indication of concrete's ability to. resist chloride ion penetration.
[6] British Standards (BS). BS 1881-116, Method for determination of compressive strength of concrete cubes.
[7] ธีรวัฒน์ สินศิริ, ชูวิทย์ นาเพีย และ ศักดิ์สิทธิ์ พันทวี. (2550). ผลกระทบของซีโอไลท์ต่อโครงสร้างขนาดเล็กของซีเมนต์เพสต์ผสม. การประชุมวิชาการโยธาแห่งชาติครั้งที่ 12, พิษณุโลก, 2-4 พฤษภาคม 2550.
[8] Valipour, M., Pargar, F., Shekarchi, M. and Khani, S. (2013). Comparing a natural pozzolan, zeolite, to metakaolin and silica fume in terms of their effect on the durability characteristics of concrete: A laboratory study. Construction and Building Materials, 41, pp. 879–888.
[9] Ikotun, B.D. and Ekolu, S. (2010). Strength and durability effect of modified zeolite additive on concrete properties. Construction and Building Materials, 24, pp. 749–757.
[10] Canpolat, F., Yılmaz, K., Kose, M.M., Sumer, M. and Yurdusev, M.A. (2004). Use of zeolite, coal bottom ash and fly ash as replacement materials in cement production. Cement and Concrete Research, 34, pp. 731–735.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์