ปริมาณคลอไรด์ทั้งหมดวิกฤตและระยะเวลาการเริ่มเกิดสนิมของเหล็กเสริมของคอนกรีตผสมตะกรันเตาถลุงเหล็กบด
คำสำคัญ:
ปริมาณคลอไรด์ทั้งหมดวิกฤต, ระยะเวลาการเริ่มเกิดสนิม, คอนกรีต, ตะกรันเตาถลุงเหล็กบดบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาผลกระทบของตะกรันเตาถลุงเหล็กบดต่อปริมาณคลอไรด์ทั้งหมดวิกฤต และระยะเวลาการเริ่มเกิดสนิมของเหล็กเสริม และกำลังอัดของคอนกรีต โดยใช้ตะกรันเตาถลุงเหล็กบดแทนที่วัสดุประสานที่ร้อยละ 30, 40, 50 และ 70 ใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.50 และระยะหุ้มเหล็กเสริม 2 เซนติเมตร จากผลการทดลองพบว่า ปริมาณคลอไรด์ทั้งหมดวิกฤตและระยะเวลาการเริ่มเกิดสนิมของคอนกรีตผสมตะกรันเตาถลุงเหล็กบดมีค่าสูงกว่าคอนกรีตซีเมนต์ล้วนทุกส่วนผสม ปริมาณคลอไรด์ทั้งหมดวิกฤตมีค่าลดลงและระยะเวลาการเริ่มเกิดสนิมของเหล็กเสริมในคอนกรีตมีค่านานขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณการแทนที่ซีเมนต์ด้วยตะกรันเตาถลุงเหล็กบด คอนกรีตผสมตะกรันเตาถลุงเหล็กบดที่ร้อยละ 30 มีปริมาณคลอไรด์ทั้งหมดวิกฤตสูงที่สุด ในขณะที่ระยะเวลาการเริ่มเกิดสนิมของเหล็กเสริมนานที่สุดเมื่อใช้คอนกรีตผสมตะกรันเตาถลุงเหล็กบดที่ร้อยละ 40 อย่างไรก็ตาม กำลังอัดของคอนกรีตผสมตะกรันเตาถลุงเหล็กบดที่ 28วัน มีค่าต่ำกว่าคอนกรีตซีเมนต์ล้วน และยิ่งลดลงเมื่อใช้ปริมาณตะกรันเตาถลุงเหล็กบดมากขึ้น
##plugins.generic.usageStats.downloads##
เอกสารอ้างอิง
[2] Fajardo, G.ม Valdez, P. and Pacheco, J. (2009). Corrosion of steel rebar embedded in natural pozzolan based mortars exposed to chlorides. Construction and Building Materials, 23, pp. 768–74.
[3] Topu, I.B. and Boga, A. R. (2010). Effect of ground granulate blast-furnace slag on corrosion performance of steel embedded in concrete. Materials and Design, 31, pp. 3358–3365, 2010.
[4] Yeau, K.Y. and Kim, E.K. (2005). An experimental study on corrosion resistance of concrete with ground granulate blast-furnace slag. Cement and Concrete Research, 35, pp. 1391–1399.
[5] เอกศักดิ์ ฤกษมหาลิขิต, ทวีชัย สำราญวานิช, ภัควัฒน์ แสนเจริญ และ สมนึก ตั้งเติมสิริกุล (2552). ความต้านทานคลอไรด์ของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์มอร์ต้าร์ที่ผสมเถ้าลอย ฝุ่นหินปูนและสารขยายตัว. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 14.
[6] นุสรา ขยันกิจ, ทวีชัย สำราญวานิช, ภัควัฒน์ แสนเจริญ, สมนึก ตั้งเติมสิริกุล (2555). ความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ของคอนกรีตที่ผสมผงหินปูนและเถ้าลอยแทนที่วัสดุประสานในสิ่งแวดล้อมทะเลเป็นเวลา 2 ปี. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 17.
[7] มอก.20-2543. เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต: เหล็กเส้นกลม. มาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, ประเทศไทย.
[8] ASTM G109-07 (2004). Standard test method for determining the effects of chemical admixture on corrosion of embedded steel in concrete exposed chloride environments. Annual Book of ASTM Standards, 3.02.
[9] ASTM C876 (2004). Standard test method for half-cell potentials of uncoated reinforcing steel in concrete. Annual Book of ASTM Standards, 4.02.
[10] ASTM C1152 (2004). Standard test method for acid-soluble chloride in mortar and concrete. Annual Book of ASTM Standard, 04.02.
[11] Kayyali, O.A. and Haque, M.N. (1998). Chloride penetration and the ratio of Cl-/OH- in the pores of cement paste. Cement and Concrete Research, 18, pp. 895–900.
[12] Ann, K.Y. and Song, H.W. (2007). Chloride threshold level for corrosion of steel in concrete. Corrosion Science, 49, pp. 4113–4133.
[13] ลีน่า ปรัก และ ทวีชัย สำราญวานิช (2556). ความต้านทานคลอไรด์ของคอนกรีตผสมตะกรันเตาถลุงเหล็กบดและผงหินปูน. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 18.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์