การบริหารวัสดุคงคลังในธุรกิจก่อสร้างขนาดเล็ก

ผู้แต่ง

  • ชนกานต์ ภิญโญภูมิมินทร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ดำรงศักดิ์ รินชุมภู ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เกรียงไกร อรุโณทยานันท์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

วัสดุคงคลัง, การบริหารวัสดุคงคลัง, การวิเคราะห์แบบเอบีซี, การจัดการวัสดุก่อสร้าง

บทคัดย่อ

งานศึกษานี้ได้ดำเนินการศึกษาโดยการนำเสนอแนวทางในการบริหารวัสดุคงคลังซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการวัสดุก่อสร้างของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขนาดเล็กซึ่งต้องจัดการวัสดุคงคลังที่มีปริมาณมากและหลายชนิดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้เครื่องมือที่ช่วยในการบริหารจัดการวัสดุคงคลังคือ การจำแนกประเภทวัสดุคงคลังตามทฤษฎี ABC Classification System เพื่อนำมาใช้ในการจำแนกความสำคัญของวัสดุคงคลังโดยจะแบ่งประเภทของวัสดุคงคลังออกเป็น 3 กลุ่มคือกลุ่ม A,B และ C โดยกลุ่ม A คือกลุ่มวัสดุที่มีมูลค่าและอัตราการหมุนเวียนของวัสดุสูงสุดรองลงมาคือกลุ่ม B และกลุ่ม C ตามลำดับ ซึ่งจะวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รวบรวมจากฝ่ายจัดซื้อและฝ่ายคลังวัสดุ เช่น รายการวัสดุที่มีการเบิกปริมาณการเบิกใช้วัสดุในแต่ละเดือน และราคาต่อหน่วยของวัสดุในช่วงเวลานั้น ๆ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคมในปี พ.ศ.2561 และเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคมในปีพ.ศ.2562 จากนั้นจึงนำมาคำนวณหามูลค่าวัสดุคงคลังแต่ละรายการและจำแนกวัสดุคงคลังออกเป็นสามกลุ่ม

ผลการศึกษาการจัดแบ่งกลุ่มวัสดุคงคลังในคลังวัสดุก่อสร้างของธุรกิจก่อสร้างขนาดเล็กพบว่ามีวัสดุที่ถูกเบิกใช้จำนวน 162 รายการ โดยแบ่งออกเป็นกลุ่ม A 20 รายการ วัสดุกลุ่ม B 26 รายการ และกลุ่ม C 116 รายการ โดยผลของการศึกษาจะสามารถนำไปกำหนดนโยบายในการควบคุมวัสดุคงคลังแต่กลุ่มอย่างเหมาะสมและสามารถลดต้นทุนวัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็นได้

Downloads

Download data is not yet available.

ประวัติผู้แต่ง

ดำรงศักดิ์ รินชุมภู, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อ.ดร.ดำรงศักดิ์ รินชุมภู

อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เกรียงไกร อรุโณทยานันท์, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผศ.ดร.เกรียงไกร อรุโณทยานันท์

อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง
[1] วิจัยกรุงศรี (2562). ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง. แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2562-2564. มิถุนายน 2562, หน้า 1-12.
[2] กิติยา ไกรสรกุล (2554). การปรับปรุงข้อกำหนดสัญญาเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดหาวัสดุในโครงการก่อสร้าง, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[3] สกุลศักดิ์ ญาติฝูง (2555). การวิเคราะห์ความสูญเปล่าในการขนส่งวัสดุเข้าสู่พื้นที่ก่อสร้าง, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[4] Said, H., & El-Rayes, K. (2011). Optimizing material procurement and storage on construction sites. Journal of Construction Engineering and Management, 137(6), pp.421-431.
[5] Kasim, N. (2011). ICT implementation for materials management in construction projects: case studies. Journal of Construction Engineering and Project Management, 1(1), pp.31-36.
[6] ตวงสุข ทวีสุขเกษม (2532). การศึกษาระบบการจัดการวัสดุ สำหรับโครงการก่อสร้างอาคาร, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[7] กิ่งกาญจน์ ผลิกะ และ นพปฎล สุวรรณทรัพย์ (2559). การบริหารสินค้าคงคลังโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABC Classification Analysis เทคนิค EOQ Model และวิธี Silver-Meal: กรณีศึกษา บริษัท XYZ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ 11, ฉบับที่ 1, หน้า 102-114.
[8] นิคุณ สายวงค์เปียง (2554). การศึกษาปัญหาด้านการจัดการวัสดุของบริษัทก่อสร้าง, โครงงานวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
[9] Pimpun Ngampak and Kongkoon Tochaiwat (2013). Guidelines to Reduce the Construction Costs of Lower-Tier Single Detach Houses of Registered Entrepreneurs. Build Environment Research Associates Conference (BERAC4), Faculty of Architecture and Planning, Thamasat University, 23 May 2013, pp.1-6.
[10] อุดม ตั้งล้ำเลิศ (2551). การพยากรณ์ยอดขายและการลดต้นทุนสินค้าคงคลังในอุตสาหกรรมไม้พื้นสำเร็จรูปลามิเนต, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[11] Tanubrata, M., & Gunawan, I. (2018). Procurement management/material supply on construction projects. In MATEC Web of Conferences (Vol. 215, p. 01031). EDP Sciences.
[12] สมชาย โพพาทอง (2554). การศึกษากระบวนการจัดการวัสดุก่อสร้างของบริษัทรับสร้างบ้าน, วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[13] สุพรพันธ์ จิตธรรม (2554). การจัดการสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจบริการอาหารแช่แข็งนำเข้าจากต่างประเทศ, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[14] นที เอื้อสมิทธิ์ (2554). การพัฒนาระบบการจัดการคลังพัสดุ: กรณีศึกษาร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[15] จีรวัฒน์ นภาสุขวีระมงคล (2558). การบริหารวัสดุคงคลัง ประเภทวัสดุสนับสนุนการผลิตโดยใช้การจำลองสถานการณ์: กรณีศึกษาโรงงานแปรรูปกระจก, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[16] Hanafi, R., Mardin, F., Asmal, S., Setiawan, I., & Wijaya, S. (2019, October). Toward a green inventory controlling using the ABC classification analysis: A case of motorcycle spares parts shop. In IOP Conference Series: Earth and Environmental Science (Vol. 343, No. 1, p. 012012). IOP Publishing.
[17] เฉลิมพล เปล่งวัฒน์ (2552). การปรับปรุงระบบการบริหารวัสดุคงคลังในอุตสาหกรรมก๊าซและปิโตรเลียมในประเทศไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[18] กัญชลา สุดตาชาติ (2548). การพัฒนาระบบจัดการสินค้าคงคลัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##