การประเมินระบบบริหารจัดการช่องจราจรบนทางพิเศษแบบอัตโนมัติ ในด้านการมองเห็น การรับรู้และการปฏิบัติตามอย่างเหมาะสมตามหลักวิศวกรรมจราจร

  • เกื้อกูล เอี่ยมชูแสง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • นันทวรรณ พิทักษ์พานิช
  • เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร
คำสำคัญ: จอภาพชนิด LED, การมองเห็นและการรับรู้, พฤติกรรมผู้ใช้ทางพิเศษ, อัตราการไหลของจราจร

บทคัดย่อ

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้มีการพัฒนาและกำหนดมาตรการบริหารจัดการช่องจราจร เพื่อยกระดับการให้บริการเพื่อลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ และป้องกันการเกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาการจราจรติดขัด ปัญหาการกระทำผิดกฎหมายจราจร ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อนเป็นต้น โดย กทพ. ได้มีการพัฒนา“ระบบบริหารจัดการช่องจราจรบนทางพิเศษแบบอัตโนมัติ (Automatic Lane Control System)” ติดตั้งบนทางพิเศษฉลองรัช บริเวณทางลงถนนเกษตร-นวมินทร์เพื่อบริหารจัดการช่องจราจรและป้องปรามการกระทำผิดกฎหมายจราจร เช่น การใช้ความเร็วเกินกำหนด การวิ่งไหล่ทาง การฝ่าฝืนเส้นทึบ เป็นต้น ซึ่งระบบฯ สามารถทำงานแบบอัตโนมัติได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยใช้อุปกรณ์เซ็นเซอร์ (Microwave Radar Sensor) มาประมวลผลร่วมกับข้อมูลจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) และนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล แสดงผ่านจอภาพชนิด LED แบบ Full Color ในรูปแบบของสัญลักษณ์จราจรตัวเลขความเร็ว และข้อความหรือภาพเพื่อแจ้งเตือนเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้แก่ผู้ใช้ทาง ทั้งนี้ จากการประเมินพฤติกรรมของผู้ใช้ทางพิเศษในด้านการมองเห็น การรับรู้ และการปฏิบัติตามหลักวิศวกรรมจราจร ผู้วิจัยพบว่าระบบฯ สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการช่องจราจร เพิ่มความเร็วและอัตราการไหลของจราจรได้มากขึ้น ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุจากกรณีการเบี่ยงเปลี่ยนช่องทางกะทันหัน และการขับขี่ในช่องทางจราจรฉุกเฉิน (ไหล่ทาง) และป้องปรามการกระทำผิดกฎหมายจราจรได้เป็นอย่างดี

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
How to Cite
[1]
เอี่ยมชูแสงเ., พิทักษ์พานิชน., และ รัตนปัญญากรเ., “การประเมินระบบบริหารจัดการช่องจราจรบนทางพิเศษแบบอัตโนมัติ ในด้านการมองเห็น การรับรู้และการปฏิบัติตามอย่างเหมาะสมตามหลักวิศวกรรมจราจร”, ncce27, ปี 27, น. TRL37-1, ก.ย. 2022.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 3 > >>