การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจกรณีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดเก็บค่าผ่านทาง จากแบบอัตราเดียวเป็นการจัดเก็บค่าผ่านทางตามระยะทาง
บทคัดย่อ
ในปัจจุบัน การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้มีการจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษในรูปแบบระบบเปิด (Open System) และระบบปิด (Close System) ทั้งนี้ในระบบเปิดจะเก็บค่าผ่านทางแบบอัตราเดียว (Flat-Rate) กล่าวคือไม่ว่าเดินทางระยะทางเท่าใดต้องจ่ายค่าผ่านทางในอัตราคงที่ ซึ่งจากแนวคิดในการวิเคราะห์เมื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดเก็บค่าผ่านทางมาเป็นแบบการจัดเก็บค่าผ่านทางตามระยะทาง (Distance Based) จะสามารถสร้างผลประโยชน์ของสังคมโดยรวมเพิ่มขึ้น โดยผู้ใช้ทางพิเศษสามารถชำระค่าผ่านทางตามต้นทุนที่แท้จริง บทความนี้ได้ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลประโยชน์และต้นทุนระหว่างกรณีใช้ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตราเดียว (Flat-Rate) และแบบจัดเก็บค่าผ่านทางตามระยะทาง (Distance Based) โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์และการเงิน พบว่า การจัดเก็บค่าผ่านทางตามระยะทาง ส่งผลให้ส่วนเกินผู้ผลิตมีผลประโยชน์ที่ติดลบ แต่ในขณะเดียวกัน กลับให้ผลประโยชน์ต่อส่วนเกินผู้บริโภคในสัดส่วนที่มากกว่า ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สวัสดิการของสังคมโดยรวม หรือ ส่วนเกินผู้บริโภคหักส่วนเกินผู้ผลิตจะเป็นบวกหากมีการดำเนินโครงการจัดเก็บค่าผ่านทางตามระยะทาง อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการยังคงต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นต่ออุปสงค์ของอัตราค่าผ่านทาง โดยหากผู้ใช้ทางมีความยืดหยุ่นต่ออุปสงค์ของอัตราค่าผ่านทางสูงจะยิ่งทำให้ผลประโยชน์ของสังคมโดยรวมสูงขึ้นไปด้วย
จำนวนการดาวน์โหลด
Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์