ประสิทธิภาพของการใช้เทปเส้นจราจรสะท้อนแสง (Retroreflective Tape) ทดแทนหมุดสะท้อนแสง (Road Stud) บนทางพิเศษ

ผู้แต่ง

  • ปิยภัค มหาโพธิ์ กองวิจัยและพัฒนา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • นันทวรรณ พิทักษ์พานิช
  • เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร

คำสำคัญ:

เส้นจราจร, หมุดสะท้อนแสง, ลักษณะทางกายภาพ, ทางพิเศษ

บทคัดย่อ

เครื่องหมายจราจรบนทางพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ควบคุมการจราจรที่ใช้เป็นตัวกำหนดทิศทางแก่ผู้ใช้ทางพิเศษ เพื่อให้สามารถขับขี่ยานพาหนะได้อย่างสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย เส้นจราจร (Line Marking) และหมุดสะท้อนแสง (Road Stud) เป็นหนึ่งในเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางพิเศษ ที่มีหน้าที่แบ่งช่องจราจร โดยต้องสามารถมองเห็นได้ชัดเจนในทุกสภาวะ ทั้งกลางวันและกลางคืน อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพการสะท้อนแสงของเครื่องหมายจราจรจะลดลงเมื่อระยะเวลาผ่านไป หรือมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสภาพแวดล้อม เช่น มีสภาวะแสงน้อย หรือมีฝนตกจนเกิดเป็นฟิลม์น้ำเคลือบอยู่บนผิวหน้า ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการมองไม่เห็นเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางพิเศษ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จึงเล็งเห็นถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ทางพิเศษและได้ศึกษาลักษณะทางกายภาพ (Geometric Layout) รวมถึงประสิทธิภาพของการใช้เทปเส้นจราจรสะท้อนแสงทดแทนหมุดสะท้อนแสงบนทางพิเศษ จากการศึกษาพบว่า ขนาดของเทปเส้นจราจรสะท้อนแสงทดแทนหมุดสะท้อนแสงควรมีความกว้างเท่ากับเส้นจราจรบนทางพิเศษคือ 0.15 เมตร และมีความยาวไม่น้อยกว่า 0.30 เมตร ซึ่งเทปเส้นจราจรสะท้อนแสงมีค่าการสะท้อนแสงในสภาวะแห้งและเปียกสูงกว่าที่มาตรฐานกำหนด ทำให้วิสัยทัศน์ของผู้ขับขี่ชัดเจนขึ้น ใช้ระยะเวลาในการติดตั้งน้อย และมีราคาต่อหน่วยเทียบเท่ากับหมุดสะท้อนแสง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##