การวิเคราะห์สมรรถนะการต้านทานแรงเฉี่ยวชนของกำแพงกันชนคอนกรีตบนทางพิเศษ
คำสำคัญ:
การเฉี่ยวชน, กำแพงกันชนคอนกรีต, สมรรถนะกำลัง, การเสริมกำลังบทคัดย่อ
จากปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนทางพิเศษในหลาย ๆ สายทางที่ผ่านมา พบว่ามีสาเหตุมาจากการเฉี่ยวชนจากการใช้ความเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนดของผู้ใช้ทางส่งผลให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อเป็นการลดระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุ และป้องกันการตกของยานพาหนะจากทางยกระดับอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุการเฉี่ยวชน การติดตั้งใช้งานกำแพงกันชนคอนกรีตบนทางยกระดับเพื่อป้องกันการตกหล่นของยานพาหนะจากทางยกระดับ และเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้ทาง จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ปัจจุบันบนทางพิเศษได้มีการติดตั้งใช้งานกำแพงกันชนคอนกรีต 2 รูปแบบ สำหรับใช้ป้องกันการตกหล่นของยานพาหนะจากการเฉี่ยวชน คือ กำแพงกันชนคอนกรีตรูปแบบ New Jersey Safety Shape Barrier และกำแพงกันชนคอนกรีตรูปแบบ F-Shape Barrier ในการศึกษาวิจัยนี้ จะพิจารณาวิเคราะห์สมรรถนะของกำแพงกันชนคอนกรีตแต่ละรูปแบบที่ได้มีการติดตั้งใช้งานบนทางพิเศษ เพื่อประเมินสมรรถนะกำลังในการต้านทานแรงจากการเฉี่ยวชน โดยพิจารณาจำลองการเฉี่ยวชน
ด้วยความเร็วที่ 80 – 140 กิโลเมตร/ชั่วโมง ของยานพาหนะกระทำในทิศทางการเฉี่ยวชนทำมุม 20 องศา 25 องศา และ 45 องศา ที่เป็นทิศทางการเฉี่ยวชนที่เกิดขึ้นจริงบนทางพิเศษ และอ้างอิงตามมาตรฐานการทดสอบการเฉี่ยวชนจริง NCHRP 350 ซึ่งในการจำลองแรงเฉี่ยวชนจะอยู่ในรูปแบบของแรงกระทำแบบสถิตย์ (Static Load) สำหรับใช้วิเคราะห์สมรรถนะกำลังต้านทานของกำแพงกันชนคอนกรีตต่อแรงเฉี่ยวชนที่เกิดขึ้น และการเสริมกำลังกำแพงกันชนคอนกรีตในกรณีที่มีกำลังต้านทานแรงเฉี่ยวชนไม่เพียงพอ
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์