การพัฒนาระบบตรวจจับและค้นหาป้ายทะเบียนรถยนต์อัตโนมัติ โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ กรณีศึกษาทางพิเศษฉลองรัช
คำสำคัญ:
ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ, ระบบอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติ, ทางพิเศษฉลองรัช, ระบบปัญญาประดิษฐ์บทคัดย่อ
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) พัฒนาระบบจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษไปสู่ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (Multilane Free-Flow: M Flow) เพื่อให้ผู้ใช้บริการทางพิเศษสามารถผ่านด่านเก็บเงินได้โดยเร็ว ไม่หยุดชะงัก ลดความแออัดบริเวณ หน้าด่าน เก็บค่าผ่านทางพิเศษ โดยใช้เทคโนโลยีระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในรูปแบบการอ่านป้ายทะเบียนรถอัตโนมัติ (Automatic License Plate Recognition:ALPR) เพื่อใช้ตรวจสอบยานพาหนะและระบุตัวตนผู้ใช้บริการ และหากมีความจำเป็นต้องติดตาม ทวงถาม เรียกเก็บค่าผ่านทางพิเศษย้อนหลัง ระบบสามารถออกรายงานการผ่านทางได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ของ กทพ. อีกทั้งกรณีหน่วยงานภายนอกขอสนับสนุนข้อมูลในการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ กทพ. จึงได้มีการพัฒนาระบบตรวจจับป้ายทะเบียนรถยนต์อัตโนมัติ (ALPR) บนทางพิเศษฉลองรัช เป็นสายทางนำร่อง
ซึ่งงานวิจัยนี้ประเมินประสิทธิภาพของระบบการอ่านป้ายทะเบียนรถอัตโนมัติ ที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI ด้วยการตรวจสอบปริมาณจราจรจริงที่ได้จากการบันทึกภาพ VDO พบว่าทั้งหมดที่ระบบ ALPR ตรวจจับได้มีค่าความถูกต้องในการอ่านป้ายทะเบียนรถยนต์ร้อยละ 97.5 ค่าความถูกต้องในการจำแนกสีร้อยละ 96 และค่าความถูกต้องในการจำแนกยี่ห้อ ร้อยละ 93 ทั้งนี้ค่าความถูกต้องดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแสดงผลในตารางการเดินทาง (O-D Table) และการค้นหาป้ายทะเบียน พร้อมทั้งพัฒนาโปรแกรมระบบตรวจจับและค้นหาป้ายทะเบียนรถยนต์สำหรับทางพิเศษฉลองรัช ให้อยู่ในรูปแบบ Web Application ที่จะทำให้สามารถใช้งานได้สะดวก
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์