ปัจจัยการจัดกลุ่มและแนวคิดการออกแบบกายภาพของด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษเพื่อรองรับ ระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ Multi-Lane Free Flow (M-Flow) บนทางพิเศษฉลองรัช
คำสำคัญ:
ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ, การออกแบบกายภาพ, ระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ M-Flowบทคัดย่อ
ปัจจุบันการทางพิเศษแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้งระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ Multi-Lane Free Flow (M-Flow) เพื่อใช้บนโครงข่ายทางพิเศษ ทำให้ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษในปัจจุบันซึ่งมีจำนวนมากต้องได้รับการปรับปรุงลักษณะทางกายภาพ เพื่อรองรับการใช้งานระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ M-Flow บทความนี้จะนำเสนอปัจจัยการจัดกลุ่มและแนวคิดการออกแบบทางกายภาพของด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ เพื่อรองรับระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ M-Flow บนทางพิเศษฉลองรัช จำนวนทั้งสิ้น 14 ด่านฯ ซึ่งสามารถจัดได้เป็น 5 กลุ่ม โดยการจัดกลุ่มด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษได้พิจารณาจากลักษณะทางกายภาพที่คล้ายคลึงกันใน 5 ปัจจัยได้แก่ รูปแบบการให้บริการ รูปร่างและลักษณะทางกายภาพ จำนวนช่องเก็บค่าผ่านทางพิเศษ ปริมาณจราจร และระดับการให้บริการ ซึ่งผลการจัดกลุ่มมีตัวแทนด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษทั้งหมด 7 ด่านฯ ใน 5 กลุ่มถูกนำมาเป็นต้นแบบสำหรับการออกแบบทางกายภาพเพื่อกำหนดตำแหน่งช่อง M-Flow ที่เหมาะสมที่สุด โดยการกำหนดช่อง M-Flow นี้พิจารณาการออกแบบจาก 3 แนวทางคือ ลักษณะทางกายภาพที่รองรับระบบเก็บค่าผ่านทางแบบผสมผสาน ลักษณะทางกายภาพที่สอดคล้องกับการทำงานของระบบ M-Flow และลักษณะทางกายภาพที่สอดคล้องกับระบบเก็บค่าผ่านทางเดิมและความปลอดภัยของพนักงานเก็บค่าผ่านทาง
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์