ระบบอพยพหนีไฟแบบเรียลไทม์ผ่านแบบจำลองสารสนเทศอาคารและเทคโนโลยีความจริงเสมือนเสริมใน โครงการก่อสร้าง

  • สมจินตนา แขนงแก้ว Department of Civil Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
  • นพดล จอกแก้ว Department of Civil Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
  • ธนิต ธงทอง Department of Civil Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
คำสำคัญ: แบบจำลองสารสนเทศอาคาร, เทคโนโลยีความจริงเสมือนเสริม, ระบบอพยพหนีไฟ

บทคัดย่อ

เนื่องด้วยโครงการก่อสร้าง ได้ดำเนินการใช้เส้นทางอพยพหนีไฟในรูปแบบ 2 มิติ ซึ่งไม่สามารถระบุตำแหน่งปัจจุบันของคนงานและแสดงข้อมูลของ เส้นทางการอพยพหนีไฟได้ ดังนั้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้อาจส่งผลทำให้เกิดความสูญเสียทางด้านชีวิตและทรัพย์สิน ในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยี แบบจำลองสารสนเทศอาคารและเทคโนโลยีความจริงเสมือนเสริมเข้ามาใช้ในโครงการก่อสร้าง เพื่อจัดทำแบบก่อสร้างสำหรับแสดงลักษณะทางกายภาพ ของโครงการก่อสร้างและแสดงข้อมูลในรูปแบบ 3 มิติ งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาและแสดงถึงความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแบบจำลอง สารสนเทศอาคารและเทคโนโลยีความจริงเสมือนเสริม เพื่อพัฒนาระบบอพยพหนีไฟแบบเรียลไทม์ผ่านแบบจำลองสารสนเทศอาคารและเทคโนโลยีความ จริงเสมือนเสริมในโครงการก่อสร้าง สำหรับใช้ในการประมวลและแสดงข้อมูลการอพยพหนีไฟต่อคนงานได้อย่างถูกต้อง โดยงานวิจัยนี้ได้ดำเนินการทดสอบ ความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากระบบอพยพหนีไฟแบบเรียลไทม์ต้นแบบเบื้องต้น (Pilot study) ณ อาคารภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมเก็บข้อมูลทางกายภาพในแง่ของระยะทาง จากนั้นจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าความคลาดเคลื่อน เมื่อเปรียบเทียบกับ ข้อมูลจากเครื่องมือวัดระยะทางเลเซอร์ MATALL MT-LM100 ผลการวิจัยพบว่าค่าความคลาดเคลื่อนของระบบอพยพหนีไฟแบบเรียลไทม์ต้นแบบมีค่า น้อยกว่า ±6% แสดงให้เห็นว่าข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลของระบบอพยพหนีไฟแบบเรียลไทม์ต้นแบบผ่านแบบจำลองสารสนเทศอาคารและเทคโนโลยี ความจริงเสมือนเสริม มีความเป็นไปได้ในการแสดงข้อมูลการอพยพหนีไฟต่อคนงานได้อย่างถูกต้อง

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
สาขาของบทความ
การประยุกต์ใช้ BIM สำหรับงานวิศวกรรมโยธา