การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย กรณีศึกษาลุ่มน้ำโกลก จังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • วนัชพร แมงสาโมง สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • อิลยาส มามะ
  • นาซือเราะ เจ๊ะดอเล๊าะ

คำสำคัญ:

พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์, ดัชนีเสี่ยงอุทกภัย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ได้ประยุกต์ใช้แบบจำลองระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ร่วมกับกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ ในการวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย           ลุ่มน้ำโกลก จังหวัดนราธิวาส โดยพิจารณาจากปัจจัยการใช้ประโยชน์ที่ดิน และกลุ่มชุดดิน โดยจำแนกพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ เสี่ยงน้ำท่วมต่ำที่สุด เสี่ยงน้ำท่วมต่ำ เสี่ยงน้ำท่วมปานกลาง เสี่ยงน้ำท่วมสูง และเสี่ยงน้ำท่วมสูงมาก จากการศึกษาพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ในลุ่มน้ำโกลก เป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมสูง คิดเป็นร้อยละ 35 ของ พื้นที่ทั้งหมด อีกทั้งร้อยละ 76 ของพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมสูงเป็นบริเวณการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพื้นที่เกษตรกรรม และเป็นกลุ่มชุดดินที่มีลักษณะการระบายน้ำค่อนข้างเลว จากการตรวจสอบข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมจริงบริเวณลุ่มน้ำโกลกจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ พบว่าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมสูงจากกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) นั้นตรงกับพื้นที่น้ำท่วมสูงจริงจาก GISTDA อยู่ที่ 41.37 ตารางกิโลเมตรหรือคิดเป็นร้อยละ 92.16 ของพื้นที่น้ำท่วมสูงจริง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

วิธีการอ้างอิง

[1]
แมงสาโมง ว., มามะ อ., และ เจ๊ะดอเล๊าะ น., “การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย กรณีศึกษาลุ่มน้ำโกลก จังหวัดนราธิวาส”, ncce27, ปี 27, น. WRE18–1, ก.ย. 2022.