ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการออกแบบสนามบินที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของสนามบิน
คำสำคัญ:
การออกแบบ, สนามบิน, ความยั่งยืน, แบบจำลองสมการโครงสร้างบทคัดย่อ
ในปัจจุบันการพัฒนาธุรกิจของแต่ละประเทศมีการขยายตัวอย่างมาก ทำให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลาย ๆ หลายประเภท โดยโครงสร้างพื้นฐานหนึ่งที่จำเป็นคือ สนามบิน อย่างไรก็ตามในการพัฒนาสนามบิน ทรัพยากรธรรมชาติจะถูกใช้ไปในปริมาณมากซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน จุดเริ่มต้นที่สำคัญสำหรับการพัฒนาสนามบินอย่างยั่งยืนก็คือ การออกแบบสนามบิน ซึ่งสามารถรวบรวมแนวทางเพื่อความยั่งยืนที่หลากหลาย รวมถึงกิจกรรมปรับปรุง ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ เพื่อการใช้งานและการบำรุงรักษาที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามจากการทบทวนวรรณกรรมยังไม่พบงานวิจัยใดที่แนะนำ ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการออกแบบสนามบินที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของสนามบิน ดังนั้นงานวิจัยนี้ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยดังกล่าว โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ข้อมูลสำหรับงานวิจัยนี้ถูกรวบรวมโดยใช้แบบสอบถามกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในสนามบินดังนี้ ผู้บริหารเชิงกลยุทธ์ของบริษัทท่าอากาศยาน ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบ และผู้ที่เคยรับจ้างก่อสร้างสนามบิน ข้อมูลที่ได้จะถูกวิเคราะห์ เพื่อ (1) ทดสอบโครงสร้างปัจจัย และ (2) หาระดับความมีอิทธิพลของปัจจัยที่มีต่อความยั่งยืนของสนามบิน โดยใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าปัจจัยทั้งหมดสามารถจัดโครงสร้างได้ 5 กลุ่มปัจจัยหลัก พร้อมน้ำหนักความสำคัญ ดังนี้ “ปัจจัยที่เกี่ยวกับทางวิ่ง-ทางขับ” (22.09%) “ปัจจัยที่เกี่ยวกับส่วนซ่อมบำรุง” (20.67%) “ปัจจัยที่เกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้ง” (19.48%) “ปัจจัยที่เกี่ยวกับอาคารผู้โดยสาร” (19.00%) และ “ปัจจัยที่เกี่ยวกับบริเวณโดยรอบ” (18.76%) ส่วนปัจจัยที่บ่งชี้ความยั่งยืนสนามบิน พร้อมน้ำหนักความสำคัญ ดังนี้ “เศรษฐกิจ” (34.56%) “สังคม” (33.18%) และ “สิ่งแวดล้อม” (32.26%) และระดับความมีอิทธิพลของปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการออกแบบสนามบินที่มีต่อความยั่งยืนสนามบิน เท่ากับ 0.80 ผลที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางให้กับผู้ออกแบบในการรวมปัจจัยที่ควรพิจารณาในการออกแบบสนามบิน แล้วช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาสนามบินอย่างยั่งยืน
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์