แผ่นไม้ไผ่สานกันความร้อนจากขี้เลื่อยไม้ยางพาราผสมน้ำยางพารา

  • เปรมณัช ชุมพร้อม สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • จรูญ เจริญเนตรกุล
  • วรรธนพร ชีววุฒิพงศ์
คำสำคัญ: ขี้เลื่อยไม้ยางพารา, น้ำยางพารา, ไม้ไผ่สาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตแผ่นไม้ไผ่สานกันความร้อนจากขี้เลื่อยไม้ยางพาราผสมน้ำยางพารา เป็นการนำขี้เลื่อยไม้ยางพาราผสมกับน้ำยางพารา ประกบด้วยแผ่นไม้ไผ่สานทั้งด้านบนและด้านล่างลักษณะคล้ายแซนวิช โดยใช้น้ำยางพาราเป็นวัสดุเชื่อมประสานระหว่าง ขี้เลื่อยไม้ยางพารากับแผ่นไม้ไผ่สาน ชิ้นงานมีขนาดกว้าง 30 cm ยาว 30 cm ความหนา 1 cm ด้วยกระบวนการอัดขึ้นรูปด้วย สัดส่วนของวัสดุผสม (น้ำยางพาราต่อขี้เลื่อย) 5 สัดส่วน ประกอบด้วย RS20 (20: 100) RS24 (24: 100) RS28 (28: 100) RS32 (32: 100)  และ RS36 (36: 100) ผลการทดสอบพบว่า RS28 RS32 และ RS24 สามารถรับแรงกดแตกได้สูงสุด 3,724 N 3,128 N และ 3,112 N ตามลำดับ RS32 RS36 และ RS24 มีค่าการพองตัวตามความหนาหลังแช่น้ำสูงสุดร้อยละ 7.15 6.82 และ 6.76 ตามลำดับ จากผลการทดสอบสมบัติเชิงความร้อน RS20 RS28 และ RS36 มีค่าสภาพนำความร้อน 0.076 w/m.k 0.077 w/m.k และ 0.077 w/m.k ตามลำดับ และมีค่าต้านทานความร้อน 0.166 m2.K/W 0.174 m2.K/W และ 0.172 m2.K/W ตามลำดับ ซึ่งแผ่นไม้ไผ่สานทั้ง 3 สัดส่วน ผ่านค่ามาตรฐาน JIS A 5908:2003 Type 8 (Insulation Board) จากการวิจัยแผ่นไม้ไผ่สานกันความร้อนจากขี้เลื่อยไม้ยางพาราผสมน้ำยางพารา สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการผลิตชิ้นงานต้นแบบ แผ่นผนังเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีต้นทุนการผลิต 370 บาทต่อตารางเมตร

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-07
สาขาของบทความ
วิศวกรรมวัสดุก่อสร้าง

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้