ความต้านทานคลอไรด์และกำลังอัดของคอนกรีตที่ผสมซีโอไลท์สังเคราะห์

  • อัญชนา กิจจานนท์
  • ทวีชัย สำราญวานิช ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ธิดาพร เชื้อสวัสดิ์
คำสำคัญ: ความต้านทานคลอไรด์, คอนกรีต, ซีโอไลท์สังเคราะห์, กำลังอัด

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์และกำลังอัดของคอนกรีตผสมซีโอไลท์สังเคราะห์ โดยวัสดุประสานที่ใช้ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 และซีโอไลท์สังเคราะห์ ใช้อัตราส่วนซีโอไลท์สังเคราะห์ต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.01, 0.03, 0.05 และ 0.10 ใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.50 และ 0.60 การแทรกซึมคลอไรด์แบบเร่งและกำลังอัดของคอนกรีตทดสอบที่ระยะเวลาบ่มน้ำ 7, 28, 56 และ 91 วัน จากผลการทดลองพบว่า คอนกรีตที่ผสมซีโอไลท์สังเคราะห์มีความต้านทานคลอไรด์ดีกว่าคอนกรีตล้วนทุกอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน โดยคอนกรีตที่ใช้อัตราส่วนซีโอไลท์สังเคราะห์ต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.03 มีความต้านทานคลอไรด์ดีที่สุด แต่คอนกรีตที่ผสมซีโอไลท์สังเคราะห์มีกำลังอัดต่ำกว่าคอนกรีตล้วน

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

รายการอ้างอิง

[1] ทวีชัย สำราญวานิช และ สมนึก ตั้งเติมสิริกุล (2561). การเสื่อมสภาพโครงสร้างคอนกรีต. บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด.
[2] Tangtermsirikul, S. (2003). Durability and mix design of concrete (1st edition). Pathum Thani: Thammasat University, Rangsit Campus.
[3] Davis, M.E. (1991). Zeolite and molecular sieve : not just ordinary catalyst. Ind. Eng. Cham. Res., 30, pp. 1675-1683.
[4] Najimi, M., Sobhani, J., Ahmadi, B. and Shekarch, M. (2012). An experimental study on durability properties of concrete containing zeolite as a highly reactive natural pozzolan. Construction and Building Materials, 35, pp. 1023–1033.
[5] American Society for Testing and Materials (ASTM). (2000). ASTM C1202, Standard test method for electrical indication of concrete's ability to. resist chloride ion penetration.
[6] British Standards (BS). BS 1881-116, Method for determination of compressive strength of concrete cubes.
[7] ธีรวัฒน์ สินศิริ, ชูวิทย์ นาเพีย และ ศักดิ์สิทธิ์ พันทวี. (2550). ผลกระทบของซีโอไลท์ต่อโครงสร้างขนาดเล็กของซีเมนต์เพสต์ผสม. การประชุมวิชาการโยธาแห่งชาติครั้งที่ 12, พิษณุโลก, 2-4 พฤษภาคม 2550.
[8] Valipour, M., Pargar, F., Shekarchi, M. and Khani, S. (2013). Comparing a natural pozzolan, zeolite, to metakaolin and silica fume in terms of their effect on the durability characteristics of concrete: A laboratory study. Construction and Building Materials, 41, pp. 879–888.
[9] Ikotun, B.D. and Ekolu, S. (2010). Strength and durability effect of modified zeolite additive on concrete properties. Construction and Building Materials, 24, pp. 749–757.
[10] Canpolat, F., Yılmaz, K., Kose, M.M., Sumer, M. and Yurdusev, M.A. (2004). Use of zeolite, coal bottom ash and fly ash as replacement materials in cement production. Cement and Concrete Research, 34, pp. 731–735.
เผยแพร่แล้ว
2020-07-07

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้