การประเมินประสิทธิภาพต้นแบบกำแพงกั้นเสียงที่ผลิตจากวัสดุไวนิล
คำสำคัญ:
กำแพงกั้นเสียง, สะท้อนเสียง, มลภาวะทางเสียงบทคัดย่อ
ปัจจุบันอัตราการขยายตัวของสังคมเมืองกรุงเทพมหานครที่เพิ่มสูงขึ้น พื้นที่ว่างเปล่าได้ถูกพัฒนาให้เป็นที่อยู่อาศัย คอนโดมิเนียม และอาคารสำนักงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณพื้นที่โดยรอบโครงข่ายทางพิเศษ ซึ่งการขยายตัวดังกล่าวทำให้พื้นที่โดยรอบทางพิเศษได้รับผลกระทบด้านมลภาวะทางเสียงจากการจราจรบนทางพิเศษ จึงเป็นที่มาของการกำหนดมาตรการในการติดตั้งกำแพงกั้นเสียงบนทางพิเศษเพื่อช่วยลดทอนเสียงการจราจรให้ลดน้อยลง อย่างไรก็ตามในการติดตั้งกำแพงกั้นเสียงอาจมีการเสื่อมประสิทธิภาพตามอายุการใช้งาน จึงจำเป็นต้องมีการประเมินประสิทธิภาพ ปรับปรุง และพัฒนากำแพงกั้นเสียงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถกั้นเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งในงานวิจัยนี้จะประเมินประสิทธิภาพของต้นแบบกำแพงกั้นเสียงชนิดสะท้อนเสียงที่ได้ออกแบบและพัฒนาจากวัสดุไวนิลและใช้ยางพารามาเป็นส่วนประกอบภายใน ซึ่งง่ายต่อการติดตั้งและบำรุงรักษา มีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพแวดล้อม เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในการติดตั้งใหม่และการติดตั้งทดแทนกำแพงกั้นเสียงเดิมที่เสื่อมสภาพหรือชำรุดเสียหาย โดยผลจากการประเมินประสิทธิภาพของต้นแบบกำแพงกั้นเสียงชนิดนี้สามารถลดทอนเสียงได้มากกว่ากำแพงกั้นเสียงชนิดสะท้อนเสียงจากวัสดุแผ่นกระเบื้องและแบบไฟเบอร์แผ่นเรียบเดิมที่เคยติดตั้งใช้งาน
##plugins.generic.usageStats.downloads##
เอกสารอ้างอิง
[2] ASTM, (2004). Classification for Rating Sound Insulation, E413-04. American Society for Testing and Material.
[3] ASTM, (2004). Standard Test for Method for Laboratory Measurement of Airborne Sound Transmission Loss of Building Partitions and Elements, E90-04. American Society for Testing and Material.
[4] ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2540). เรื่อง กำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนที่ 27ง. 3 เมษายน 2540.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์