การออกแบบและประเมินสมรรถนะของจุดยึดติดตั้งฐานต้นแบบตู้เก็บค่าผ่านทางพิเศษ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ: การเฉี่ยวชน, จุดยึดติดตั้ง, ต้นแบบตู้เก็บค่าผ่านทางพิเศษบทคัดย่อ
จากปัญหาการเสื่อมสภาพของตู้เก็บค่าผ่านทางพิเศษเดิมที่ติดตั้งใช้งานบนทางพิเศษจึงเป็นที่มาของการพัฒนาและออกแบบต้นแบบตู้เก็บค่าผ่านทางฯ ให้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม แข็งแรงปลอดภัยและทันสมัย โดยการออกแบบตู้เก็บค่าผ่านทางฯ จะต้องคำนึงถึงการป้องกันกรณีการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ให้รอบด้าน จึงเป็นที่มาของการออกแบบจุดยึดติดตั้งฐานต้นแบบตู้เก็บค่าผ่านทางฯ ในบทความนี้ได้กล่าวถึงกรณีรถบรรทุกขนาด 6 ล้อ (น้ำหนัก 15 ตัน) มีการเฉี่ยวชนในทิศทางที่ 0 องศา และ 45 องศาซึ่งเป็นองศาที่อาจเกิดการเฉี่ยวชนขึ้นจริงกับตู้เก็บค่าผ่านทาง เพื่อคำนวณหาจุดยึดที่มีความสามารถในการต้านทานแรงกระทำต่อการเฉี่ยวชน และหาลักษณะการเสียรูปของจุดยึดในองศาการเฉี่ยวชนดังกล่าว ด้วยวิธี Finite Element ผ่านโปรแกรมการวิเคราะห์แบบจำลอง ซึ่งผลจากการวิเคราะห์แบบจำลองแสดงให้เห็นว่า สมรรถนะของจุดยึดติดตั้งฐานต้นแบบตู้เก็บค่าผ่านทางฯ สามารถต้านทานแรงกระทำจากการเฉี่ยวชนที่องศาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจากการเฉี่ยวชนจะเกิดแรงอัดที่ส่งผลต่อสลักเกลียวกับแผ่นเหล็กซึ่งทำให้เกิดการฉีกขยายของแผ่นเหล็กเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
Downloads
เอกสารอ้างอิง
[2] AASHTO, (1997). Guide for Selecting, Locating, and Designing Traffic Barriers, GTB-1. American Association of Highway Officials. Washington, D.C.
[3] กรมโยธาธิการและผังเมืองกระทรวงมหาดไทย (2561). มาตรฐานการออกแบบราวกันตกในอาคารจอดรถยนต์, มยผ.1321-61, ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ, หน้า 3-15
[4] BS EN 1317-3, (2010). Road restraint systems - Part3 : Performance Classes, impact test acceptance criteria and test methods for crash cushions, British standard. UK.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์