การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการประยุกต์ใช้ข้อมูล Mobile Probe กับ Fixed Sensor เพื่อรายงาน สภาพจราจรบนทางพิเศษ กรณีศึกษา ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์)
คำสำคัญ:
ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์), แบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาคบทคัดย่อ
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้ทำการศึกษาความเหมาะสมของการประยุกต์ใช้ข้อมูลจาก Mobile Probe เพื่อการรายงานสภาพจราจรบนทางพิเศษ โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและความแม่นยำของการรายงานสภาพจราจรให้กับผู้ใช้ทางพิเศษ และหาแนวทางในการลดงบประมาณในการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพจราจรแบบติดตั้งบนทางที่ต้องมีต้นทุนในการดำเนินการค่อนข้างสูง การศึกษานี้ได้คัดเลือกพื้นที่ศึกษาบนทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) ซึ่งมีโครงข่ายอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพจราจรแบบอัตโนมัติที่สมบูรณ์จากการพัฒนาระบบจราจรอัจฉริยะ (ITS) ระยะทางทั้งสิ้น 22.5 กิโลเมตร ในการวิเคราะห์คณะผู้วิจัยได้เลือกใช้แบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาค (Microscopic Simulation Model) ที่พัฒนาขึ้นด้วยโปรแกรม AIMSUN 7.0 เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สัดส่วนของข้อมูลสภาพจราจรประเภท Mobile Probe ที่สามารถรายงานสภาพจราจรบนทางพิเศษที่ถูกต้องที่ระดับ 85 เปอร์เซ็นต์โดยปรับเทียบแบบจำลองด้วยข้อมูลจราจรที่ได้จากอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพจราจรแบบอัตโนมัติที่ติดตั้งบนทางพิเศษ โดยตัวแปรทางด้านจราจรที่ใช้ในพิจารณา ประกอบด้วยอัตราการไหลผ่านจุดอ้างอิงบนทางพิเศษ (Flow Rate ; คัน/ชั่วโมง) ความเร็วเฉลี่ยของการจราจรที่ผ่านจุดอ้างอิง (Average Speed ; กิโลเมตร/ชั่วโมง)ความหนาแน่นของการจราจรที่ผ่านจุดอ้างอิง (Density ; คัน/กิโลเมตร) จากผลการศึกษาพบว่า จำนวนข้อมูลที่ได้จาก Mobile Probe เพียงแค่ 3-5 % ของจำนวนรถในระบบก็เพียงพอต่อการรายงานสภาพความเร็วบนทางที่ระดับความเชื่อมั่น 85 เปอร์เซ็นต์นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้ทำการศึกษาถึงข้อจำกัด ระหว่าง Mobile Probe และอุปกรณ์ตรวจวัดจราจรที่ติดตั้งบนทางพิเศษในเชิงเปรียบเทียบการนำข้อมูลไปใช้เพื่อการวิเคราะห์เชิงวิศวกรรมจราจร
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์