การประเมินผลแนวทางแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณทางแยกต่างระดับอาจณรงค์ ด้วยการประยุกต์ใช้แบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาค

ผู้แต่ง

  • พรรณทิพา พันธ์ยิ้ม กองวิจัยและพัฒนา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • จิรวัฒน์ เพลิงศรีทอง กองวิจัยและพัฒนา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร กองวิจัยและพัฒนา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

คำสำคัญ:

การประเมินผลกระทบการจราจร, ทางพิเศษเฉลิมมหานคร, แบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาค

บทคัดย่อ

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ให้บริการทางพิเศษเฉลิมมหานครเป็นทางพิเศษที่ช่วยให้การเดินทางจากภูมิภาคต่างๆ เข้าสู่
ย่านศูนย์กลางธุรกิจได้สะดวกและรวดเร็ว และทางพิเศษฉลองรัชเป็นทางพิเศษที่สามารถเชื่อมต่อกับทางพิเศษเฉลิมมหานครบริเวณทางแยกต่างระดับอาจณรงค์ โดยการเดินทางขาเข้าเมืองจากทางพิเศษฉลองรัช และทางพิเศษเฉลิมมหานครเพื่อมุ่งหน้าท่าเรือ กระแสจราจรจะเข้ามารวมกันบริเวณทางแยกต่างระดับอาจณรงค์ ประมาณ 8,700 เที่ยวต่อชั่วโมงโดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า โดยมีลักษณะเป็นเนินไต่ระดับจากระดับดินเพื่อขึ้นสู่ทางยกระดับซึ่งเป็นจุดคอขวดทำให้เกิดการจราจรติดขัดเป็นช่วงชะลอความเร็วยาวสะสมบนทางพิเศษเฉลิมมหานครเป็นระยะทางกว่า 3.15 กิโลเมตร จึงพัฒนาแบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาค AIMSUN เพื่อประเมินประสิทธิภาพและวิเคราะห์ผลกระทบด้านจราจรต่างๆ ของแต่ละมาตรการเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด ผลการวิเคราะห์พบว่ามาตรการปรับเปลี่ยนแนวช่องจราจรช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดด้วยการประเมินทั้งในด้านความยาวช่วงชะลอความเร็วสูงสุด ความเร็วเฉลี่ย เวลาเฉลี่ยการเดินทาง และปริมาณจราจรที่ระบายได้มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับบริเวณทางแยกต่างระดับอาจณรงค์

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08

วิธีการอ้างอิง

[1]
พันธ์ยิ้ม พ. และคณะ 2020. การประเมินผลแนวทางแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณทางแยกต่างระดับอาจณรงค์ ด้วยการประยุกต์ใช้แบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาค. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), TRL11.

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##