การประเมินสภาพการจราจรของด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษดินแดงเมื่อเปิดให้บริการระบบเก็บ ค่าผ่านทางพิเศษแบบ Multi-lane Free Flow (M-Flow) โดยใช้แบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาค

ผู้แต่ง

  • ธนุตม์ กล่อมระนก กองวิจัยและพัฒนา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย https://orcid.org/0000-0002-9711-2011
  • นันทวรรณ พิทักษ์พานิช
  • เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร

คำสำคัญ:

ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ, ระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ M-Flow, แบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาค

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการทางพิเศษแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการศึกษาและติดตั้งระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ Multi-Lane Free Flow (M-Flow) ให้ครอบคลุมโครงข่ายทางพิเศษ เพื่อลดปัญหาการติดขัดบริเวณหน้าด่านทางพิเศษ ซึ่งการเปิดให้บริการระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ M-Flow ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพและสภาพการจราจรของด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ บทความนี้นำเสนอการประเมินสภาพการจราจรของด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษดินแดง และเปรียบเทียบผลกระทบด้านการจราจรทั้งก่อนและหลังปรับปรุงลักษณะทางกายภาพของด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษเพื่อรองรับการให้บริการระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ M-Flow ในปีที่ 1 ปีที่ 5 และปีที่ 10 ทั้งช่วงเวลาเร่งด่วนและนอกช่วงเวลาเร่งด่วนผ่านโปรแกรม Aimsun จากผลการศึกษาพบว่าการเปิดให้บริการระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ M-Flow ของด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษดินแดงในปีที่ 1 ปีที่ 5 และปีที่ 10 ทั้งช่วงเวลาเร่งด่วนและนอกช่วงเวลาเร่งด่วนจะสามารถลดความล่าช้า แถวคอย และเวลาการเดินทางลงได้เมื่อสัดส่วนผู้ใช้งานระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ M-Flow เพิ่มขึ้น นอกจากนี้สัดส่วนผู้ใช้งานระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ M-Flow มีผลโดยตรงต่อการบริหารจัดการจำนวนช่องจราจรบริเวณทางออกของด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08

วิธีการอ้างอิง

กล่อมระนก ธ., พิทักษ์พานิช น., & รัตนปัญญากร เ. . (2023). การประเมินสภาพการจราจรของด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษดินแดงเมื่อเปิดให้บริการระบบเก็บ ค่าผ่านทางพิเศษแบบ Multi-lane Free Flow (M-Flow) โดยใช้แบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาค . การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, TRL44–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2178

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##