การศึกษาการยกโครงสร้างเพื่อเปลี่ยนแผ่นยางรองคานทางพิเศษเฉลิมมหานคร

  • อิศราพงษ์ ขานทอง แผนกทดสอบ ควบคุมคุณภาพและพัฒนามาตรฐาน กองวิจัยและพัฒนา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • นันทวรรณ พิทักษ์พานิช
  • เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร
  • สราวุธ พรหมาด
คำสำคัญ: ทางพิเศษ, โครงสร้างส่วนบน, โครงสร้างส่วนล่าง, แผ่นยางรองคาน

บทคัดย่อ

โครงสร้างทางพิเศษส่วนใหญ่ประกอบด้วย โครงสร้างส่วนบน และโครงสร้างส่วนล่าง โดยมีแผ่นยางรองคานติดตั้งอยู่ระหว่างโครงสร้างทั้งสองเพื่อทำหน้าที่รองรับน้ำหนักที่เกิดจากโครงสร้างส่วนบนและน้ำหนักที่เกิดจากยานพาหนะ รวมถึงรองรับการเคลื่อนตัวของโครงสร้าง จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่าแผ่นยางรองคานของทางพิเศษเฉลิมมหานครบางตำแหน่งมีการเสื่อมสภาพเนื่องจากมีอายุการใช้งานมากกว่า 30 ปี ทำให้พฤติกรรมเชิงโครงสร้างบริเวณฐานรองรับไม่เป็นไปตามที่ออกแบบ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแผ่นยางรองคานและวัสดุอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการบำรุงรักษาโครงสร้างทางพิเศษให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพต่อไป บทความนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแผ่นยางรองคาน ได้แก่ การสำรวจและประเมินความเสียหายของแผ่นยางรองคาน แนวทางการวิเคราะห์และออกแบบวิธีการยกโครงสร้าง การวิเคราะห์โครงสร้างก่อนดำเนินการยก ตลอดจนขั้นตอนการดำเนินการยกโครงสร้างเพื่อเปลี่ยนแผนยางรองคาน ภายใต้เงื่อนไขสำคัญคือทางพิเศษต้องสามารถเปิดให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง โดยต้องคำนึงถึงผู้ใช้ทางพิเศษ และประชาชนที่สัญจรผ่านใต้ทางพิเศษ หรือประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ให้มีความปลอดภัยตลอดเวลา

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-07

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 3 > >>