การศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบด้านจราจรจากการเปิดใช้ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติแบบ Multi-lane Free Flow (M-Flow) กรณีศึกษาด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ บางนา กม.6 (ขาเข้า)

  • พลฉัตร ยงญาติ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • ศิวัช ปัญญาชัยวัฒนากูล
  • เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร
คำสำคัญ: ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษ, ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ, ผลกระทบด้านจราจร

บทคัดย่อ

ปัญหาความแออัดของรถบริเวณหน้าด่านเป็นหนึ่งในปัญหาจราจรหลักที่เกิดขึ้นบนทางพิเศษ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจึงได้มีการศึกษาและพัฒนาระบบจัดเก็บค่าผ่านทางรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นระบบจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติแบบ Multi-lane Free Flow (M-Flow) เพื่อให้รถสามารถผ่านด่านเก็บค่าผ่านทางได้อย่างรวดเร็ว ไม่หยุดชะงัก ทั้งนี้ การพัฒนาระบบจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษ M-Flow จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกายภาพของด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษและกระทบต่อสภาพจราจรบนทางพิเศษเช่นเดียวกัน บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์ผลกระทบด้านจราจรของด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษบางนา กม.6 (ขาเข้า) เมื่อเปิดใช้ระบบ M-Flow โดยอาศัยเทคนิคการพัฒนาแบบจำลองด้านจราจร ผ่านโปรแกรม Aimsun เพื่อประเมินสภาพจราจรที่เกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดเก็บค่าผ่านทางทั้งในช่วงเวลาเร่งด่วนและนอกช่วงเวลาเร่งด่วน โดยแบ่งสถานการณ์สอดคล้องกับการคาดการณ์ปริมาณจราจรในปีที่ 1 ปีที่ 5 และปีที่ 10 ตามลำดับ จากผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาระบบจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษ M-Flow ทำให้ค่าความล่าช้าเฉลี่ย แถวคอย และระยะเวลาเดินทางรวมลดลง ขณะที่ความเร็วเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงของค่าตัวแปรสภาพจราจรดังกล่าวขึ้นอยู่กับสัดส่วนผู้ใช้ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษ M-Flow โดยหากมีปริมาณผู้ใช้ M-Flow สูงขึ้นก็จะส่งผลให้สภาพจราจรบนทางพิเศษมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-08

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 3 > >>