การประมาณตารางปริมาณจราจรของจุดเริ่มต้น-จุดปลายทางบนทางพิเศษ โดยใช้ข้อมูลจากระบบอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติและด่านเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ

  • จิรวัฒน์ เพลิงศรีทอง กองวิจัยและพัฒนา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • ศิวัช ปัญญาชัยวัฒนากูล กองวิจัยและพัฒนา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร กองวิจัยและพัฒนา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • สโรช บุญศิริพันธ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • จุฑาทิพย์ อาจหาญ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ: ตารางปริมาณจราจรของจุดเริ่มต้น-จุดปลายทางของการเดินทาง, ระบบอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติ, ทางพิเศษ

บทคัดย่อ

ตารางปริมาณจราจรของจุดเริ่มต้นและจุดปลายทางของการเดินทางเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญสำหรับการวางแผนโครงข่ายของระบบการขนส่งและจราจร วิธีที่ใช้ในการเก็บข้อมูลที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป ได้แก่ การสัมภาษณ์ผู้ใช้ทาง ซึ่งมีข้อจำกัดของปริมาณผู้ให้สัมภาษณ์ที่มีจำนวนน้อย และไม่สามารถระบุยานพาหนะรายคันได้ อีกทั้งความถูกต้องที่ได้อาจไม่แม่นยำพอสมควร ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีการอ่านป้ายทะเบียนแบบอัตโนมัติสามารถทำได้อย่างแม่นยำมากขึ้น และสามารถนำมาใช้ในการจับคู่จุดเริ่มต้น-จุดปลายทางได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้ได้เลือกใช้ระบบการอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติ (Automatic License Plate Recognition, ALPR) ซึ่งเป็นระบบการอ่านป้ายทะเบียนของยานพาหนะที่เคลื่อนที่ผ่านจุดสังเกตและนำมาจับคู่ป้ายทะเบียนในตำแหน่งจุดเริ่มต้นและจุดปลายทางที่สนใจ อีกทั้งปริมาณการใช้งานระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ (Electronic Toll Collection, ETC) ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น งานวิจัยนี้ได้พัฒนาวิธีการประมาณปริมาณจราจรของจุดเริ่มต้นและจุดปลายทางของการเดินทาง โดยใช้ข้อมูลจากระบบอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติและข้อมูลจากด่านเก็บค่าผ่านทาง และทำการตรวจสอบความถูกต้องของตารางการเดินทาง โดยใช้ข้อมูลจากอุปกรณ์ตรวจนับยานพาหนะ (Screenline Sensor) บนทางพิเศษ พบว่าวิธีการสร้างตารางปริมาณจราจรของจุดเริ่มต้นและจุดปลายทางที่ใช้ข้อมูลจากระบบ ALPR มีค่าความถูกต้องที่ยอมรับได้ และสามารถนำตารางการเดินทางที่ได้ไปประยุกต์ใช้งานต่อในการวิเคราะห์ด้านอื่นๆได้ และการใช้ข้อมูลจากระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ (ETC) สามารถช่วยเพิ่มความถูกต้องให้กับตารางจุดเริ่มต้นและจุดเดินทางของการเดินทางได้และทำให้ความถูกต้องต่ำลงในบางกรณี

 

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-08

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>