เกี่ยวกับการประชุม

การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28
The 28th National Convention on Civil Engineering

การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ เป็นงานประชุมวิชาการที่จัดขึ้นเป็นประจำอย่างต่อเนื่องในทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 จนถึงปัจจุบัน โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 28 ซึ่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ร่วมกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (The Engineering Institute of Thailand) ในพระบรมราชูถัมภ์ (วสท.) เป็นผู้ดำเนินการ โดยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านวิศวกรรมโยธา

 

การประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอข้อมูลและผลงานทางด้านวิศวกรรมโยธาให้กับนักวิชาการ นักวิจัย วิศวกร นิสิตนักศึกษา ผู้ปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมโยธา หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งชาวไทยและต่างประเทศ รวมไปถึงประชาชนผู้สนใจ ได้มีโอกาสร่วมแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดความรู้ รวมถึงประสบการณ์ทางด้านวิศวกรรม และเป็นช่องทางในการต่อยอดนวัตกรรม งานวิจัย และประสบการณ์ทางด้านวิศวกรรม รวมทั้งการนำผลงานวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงอย่างไร้ขีดจำกัดให้เกิดประโยชน์ในภาพรวมที่สนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่างๆ ในท้ายที่สุด ผลได้จากการประชุมนี้จะช่วยสนับสนุนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมของประเทศ รวมทั้งพัฒนางานวิชาการทางด้านวิศวกรรมอย่างยั่งยืน

“ความท้าทายด้านวิศวกรรมโยธาหลังการระบาดใหญ่” (“Post-Pandemic Challenges in Civil Engineering”)
วันที่ 24 - 26 พฤษภาคม 2566 ณ โรงแรมภูเก็ต เกรซแลนด์ รีสอร์ท แอน สปา, จังหวัดภูเก็ต
 

หัวข้อการประชุม

  1. วิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering: STR)
  2. วิศวกรรมวัสดุก่อสร้าง (Construction Material Engineering: MAT)
  3. วิศวกรรมการบริหารงานก่อสร้าง (Construction Engineering and Management: CEM)
  4. วิศวกรรมปฐพี (Geotechnical Engineering: GTE)
  5. วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์ (Intelligent Transportation, Traffic and Logistics Engineering: TRL)
  6. วิศวกรรมแหล่งน้ำ (Water Resource Engineering: WRE)
  7. วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Survey and Geographic Information System Engineering: SGI)
  8. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและพลังงาน (Environmental and Energy Engineering: ENV)
  9. วิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Engineering: INF)
  10. การประยุกต์ใช้ BIM สำหรับงานวิศวกรรมโยธา (BIM for Civil Engineering: BIM)
  11. วิศวกรรมโยธากับการศึกษา (Civil Engineering and Education: CEE)

 

กำหนดการสำคัญ

เปิดรับบทคัดย่อ 1 มกราคม – 31 มกราคม 2566
ขยายเวลาการรับบทคัดย่อ 14 กุมภาพันธ์ 2566
แจ้งผลการพิจารณาบทคัดย่อ (รอบแรก) 10 กุมภาพันธ์ 2566
แจ้งผลการพิจารณาบทคัดย่อ (รอบขยาย) 21 กุมภาพันธ์ 2566
วันสุดท้ายของการส่งบทความฉบับสมบูรณ์ 31 มีนาคม 2566
แจ้งผลการพิจารณาบทความฉบับสมบูรณ์ 21 เมษายน 2566
วันสุดท้ายของการชำระค่าลงทะเบียนล่วงหน้า 30 เมษายน 2566
การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ 24 - 26 พฤษภาคม 2566

 

อัตราการลงทะเบียน

บทความที่ได้รับการพิจารณาให้เข้าร่วมการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ต้องลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมวิชาการ เพื่อรับการตีพิมพ์ Proceeding ซึ่งมีอัตราค่าลงทะเบียน (Registration Fee) ดังต่อไปนี้

อัตราการชำระค่าลงทะเบียน ภายในวันที่ 30 เม.ย. 2566 หลังวันที่ 30 เม.ย. 2566
ไม่เกิน 2 บทความ (บาท) บทความเพิ่มเติม (ราคาต่อบทความ) ไม่เกิน 2 บทความ (บาท) บทความเพิ่มเติม (ราคาต่อบทความ)
นิสิต / นักศึกษา 4,500 4,000 5,000 4,500
บุคลากรในหน่วยงานของรัฐและสมาชิก วสท. 6,000 5,500 6,500 6,000
บุคลทั่วไป 6,000 5,500 6,500 6,000
เข้าร่วมงานโดยไม่นำเสนอบทความ (นักศึกษา) 4,500 5,000
เข้าร่วมงานโดยไม่นำเสนอบทความ (ทั่วไป) 6,000 6,500