การคาดการณ์ปริมาณจราจรและปริมาณผู้ใช้งานระบบ M-Flow บนโครงข่ายทางพิเศษ

  • เสาวนี ศรีสุวรรณ กองวิจัยและพัฒนา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • ธนุตม์ กล่อมระนก
  • ศิวัช ปัญญาชัยวัฒนากูล
  • เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร
คำสำคัญ: ทางพิเศษ, ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด, อัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น, สัดส่วนผู้ใช้ทางพิเศษ, ระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ M-Flow

บทคัดย่อ

การเปิดบริการระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ Multi-Lane Free Flow (M-Flow) ทำให้ผู้ใช้ทางพิเศษได้รับความสะดวก รวดเร็วและชำระ ค่าผ่านทางได้หลากหลายช่องทางซึ่งส่งผลให้แนวโน้มของปริมาณจราจรบนทางพิเศษเพิ่มมากขึ้น บทความนี้นำเสนอการคาดการณ์ปริมาณจราจรและปริมาณของผู้ใช้งานระบบ M-Flow บนโครงข่ายทางพิเศษ โดยประยุกต์ใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อจำนวนประชากรในรูปแบบผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลระหว่างปี พ.ศ 2554 - 2562 สำหรับการวิเคราะห์อัตราการเติบโตของปริมาณจราจรบนทางพิเศษ 4 สายทาง ได้แก่ ฉลองรัช บูรพาวิถี กาญจนาภิเษก และเฉลิมมหานคร การศึกษานี้ใช้อัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้นสำหรับการวิเคราะห์เพื่อใช้คาดการณ์ปริมาณจราจรที่เกิดขึ้นในอนาคตของแต่ละทางพิเศษในช่วงระยะเวลา 15 ปี (พ.ศ.2566-2580) ซึ่งในระยะที่ 1 เปิดให้บริการจำนวน 3 ด่าน ในปี พ.ศ. 2566 คาดการณ์ว่าปริมาณยานพาหนะที่ใช้ M-Flow 24,000 คัน/วัน และปลายปี พ.ศ.2567 ซึ่งเปิดให้บริการทุกสายทางคาดว่าจะมีปริมาณยานพาหนะที่ใช้ M-Flow 464,525 คัน/วัน บนโครงข่ายทางพิเศษ ปีที่ 5 ของการเปิดให้บริการจะมีปริมาณยานพาหนะที่ใช้ M-Flow 689,747 คัน/วัน ปีที่ 10 1,092,449 คัน/วัน และปีที่ 15 1,383,699 คัน/วัน

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-08

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 3 4 > >>