พฤติกรรมของคานไม้ประกอบร่วมกับแผ่นเหล็กบางภายใต้การดัด

  • พงศ์ศักดิ์ ศุขมณี สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา
  • ทวีศักดิ์ ทองขวัญ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา
  • นันทชัย ชูศิลป์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา
  • พรนรายณ์ บุญราศรี สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา
  • รจณา คูณพูล สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา
คำสำคัญ: คานไม้ประกอบ, ไม้ยางพารา, แผ่นเหล็กบาง, การดัด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับน้ำหนัก การโก่งตัว และการวิบัติของคานไม้ประกอบจากไม้สะเดาเทียมและไม้ยางพาราภายใต้การดัด โดยคานไม้ประกอบมีขนาดหน้าตัดกว้าง 5 เซนติเมตร ลึก 10 เซนติเมตร ยาว 140 เซนติเมตร เชื่อมติดด้วยกาวร่วมกับตะปูและเสริมด้วยแผ่นเหล็กบางกว้าง 2 เซนติเมตร ตลอดความยาวคาน โดยคานทั้งหมดมี 4 รูปแบบ และทำการทดสอบภายใต้การทดสอบการดัดแบบ 4 จุด บันทึกค่าการโก่งตัวในช่วงที่ยอมให้เท่ากับ L/156 ผลการทดสอบพบว่าสมบัติทางกลของไม้สะเดาเทียมและไม้ยางพาราที่นำมาใช้ทดสอบ จัดเป็นไม้เนื้ออ่อน ตามมาตรฐานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (ว.ส.ท.) คานไม้ประกอบที่ประกอบจากไม้สะเดาเทียมสามารถรับน้ำหนักภายใต้การดัดได้สูงกว่าคานไม้ประกอบที่ประกอบจากไม้ยางพาราเฉลี่ยเท่ากับ 26.28 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากผลคุณสมบัติเชิงกลของไม้สะเดาเทียมมีค่าสูงกว่าไม้ยางพารา เมื่อนำคานไม้ประกอบทั้ง 2 ชนิด มาเสริมแผ่นเหล็กบาง ทำให้สามารถรับน้ำหนักภายใต้การดัดได้เพิ่มมากขึ้นโดยคานไม้ประกอบจากไม้สะเดาเทียมมีค่าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเท่ากับ 9.23 เปอร์เซ็นต์ ส่วนคานไม้ประกอบจากไม้ยางพารามีค่าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเท่ากับ 18.35 เปอร์เซ็นต์ เมื่อพิจารณาถึงพฤติกรรมการวิบัติของคานไม้ประกอบพบว่าการวิบัติเกิดขึ้นบริเวณจุดต่อของคานไม้ประกอบโดยมีลักษณะการวิบัติแบบรอยแตกขนานเสี้ยน

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-05

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้