แผ่นไม้อัดจากเส้นใยทางปาล์มน้ำมันผสมน้ำยางพารา

  • เปรมณัช ชุมพร้อม สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • จรูญ เจริญเนตรกุล
  • จุฑามาศ ลักษณะกิจ
  • วิศิษฏ์ศักดิ์ ทับยัง
  • ทวีศักดิ์ ทองขวัญ
คำสำคัญ: แผ่นไม้อัด, เส้นใยทางปาล์มน้ำมัน, กาวติดไม้, น้ำยางพารา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตแผ่นไม้อัดจากเส้นใยทางปาล์มน้ำมันที่ยึดประสานด้วยกาวติดไม้ผสมน้ำยางพารา เป็นการนำทางปาล์มน้ำมันที่เหลือทิ้งจากภาคเกษตรมาทำการบดให้ละเอียด หลังจากนั้นคลุกเคล้ากับกาวติดไม้พร้อมกับพรมน้ำยางพาราในอัตราส่วนต่าง ๆ อัดขึ้นรูปโดยเครื่องอัดอเนกประสงค์ควบคุมแรงกดที่ 30 Ton จากการศึกษาพบว่า เมื่อเพิ่มปริมาณน้ำยางพาราร้อยละ 0 10 20 30 40 และ 50 โดยน้ำหนักของกาวผงติดไม้ ส่งผลให้แผ่นไม้อัดจากเส้นใยทางปาล์มน้ำมันผสมน้ำยางพารามีค่าความหนาแน่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.19 11.60 19.24 19.46 และ 19.48 ตามลำดับ ความชื้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.61 23.20 26.86 32.74 และ 34.86 การพองตัวตามความหนาเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.66 21.85 5.88 26.89 และ 22.69 ความต้านแรงดัดลดลงร้อยละ 30.21 33.71 48.90 66.12 และ 69.11 มอดุลัสยืดหยุ่นลดลงร้อยละ 28.77 40.19 46.54 55.53 และ 61.03 การเพิ่มปริมาณน้ำยางพาราในแผ่นไม้อัดจากเส้นใยทางปาล์มน้ำมัน เป็นการเสริมสร้างคุณสมบัติที่โดดเด่นให้กับแผ่นไม้อัดด้านการดัดโค้งงอได้ดียิ่งขึ้น จากการพยากรณ์ผลการทดสอบพบว่าหากเพิ่มปริมาณน้ำยางพาราไม่เกินร้อยละ 4 จะทำให้แผ่นไม้อัดจากเส้นใยทางปาล์มน้ำมันมีค่าความต้านแรงดัด 21 MPa และค่ามอดุลัสยืดหยุ่นเท่ากับ 1800 MPa ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดอัดราบ มอก. 876-2547

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-06

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>