การประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับในการติดตามยางพารา กรณีศึกษา ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
A case study of Nam Noi Sub-district, Hat Yai District, Songkhla Province
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการติดตามยางพาราในเขตพื้นที่ตัวอย่างตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ด้วยอากาศยานไร้คนขับ พื้นที่ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีทั้งหมด 4 แปลง ได้แก่ แปลงยางพาราที่ 1 มีอายุ 6 ปี แปลงยางพาราที่ 2 มีอายุ 8 ปี แปลงยางพาราที่ 3 มีอายุ 10 ปี และแปลงยางพาราที่ 4 มีอายุ 17 ปี โดยทำการบินเก็บข้อมูลภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ ในเดือนกันยายน พ.ศ.2564 ผลที่ได้จากการคำนวณดัชนีพืชพรรณ พบว่า ข้อมูลจากการคำนวณดัชนี GLI มีค่าเฉลี่ย 0.390, 0.461, 0.496, และ 0.510 ตามลำดับ ค่าดัชนี GRVI มีค่าเฉลี่ย 0.167, 0.128, 0.087 และ 0.117 ตามลำดับ ค่าดัชนี VARI มีค่าเฉลี่ย 0.332, 0.320, 0.291 และ 0.352 ตามลำดับ และค่าดัชนี ExG มีค่าเฉลี่ย -0.241, -0.192, -0.207 และ -0.163 ตามลำดับ เมื่อนำข้อมูลดัชนีพืชพรรณมาเปรียบเทียบ พบว่า มีแนวโน้มของดัชนีในทิศทางเดียวกันและสามารถนำมาใช้ในการดูความผิดปกติของต้นยางพาราจากค่าโทนสีเขียวได้
จำนวนการดาวน์โหลด
Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.