พฤติกรรมการดัดของคานไม้ประกอบอัดกาวจากไม้ยางพาราและไม้อัด

  • ทวีศักดิ์ ทองขวัญ สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • นันทชัย ชูศิลป์
  • เปรมณัช ชุมพร้อม
  • จุฑามาศ ลักษณะกิจ
  • อรุณ ลูกจันทร์
คำสำคัญ: คานไม้ประกอบอัดกาว, ไม้ยางพารา, ไม้อัด, แรงดัด, เสริมกำลัง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาพฤติกรรมการรับน้ำหนัก และการแอ่นตัวของคานไม้ยางพาราประกอบ เสริมกำลังด้วยไม้อัด โดยนำไม้ยางพาราขนาด 5×2×50 เซนติเมตร มาจัดเรียงติดกัน เสริมกำลังด้วยไม้อัด 5x1x150 เซนติเมตร ที่ตำแหน่งกึ่งกลางของหน้าตัดคาน การจัดเรียงหน้าตัดมี 2 รูปแบบ คือ วางไม้แนวนอน (1) และวางไม้แนวตั้ง (2) ให้มีความกว้าง 5 เซนติเมตร ความหนา 4, 5, 8, 9 และ 10 เซนติเมตร และความยาว 150 เซนติเมตร เรียงประสานติดกันด้วย 2 วิธี คือ การใช้กาวเพียงอย่างเดียว และการใช้กาวร่วมกับตะปู เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับแรงดัดของคานไม้ประกอบโดยมีวิธีทดสอบแบบ 3 จุด ช่วงความยาวของฐานรองรับ 100 เซนติเมตร ตามมาตรฐาน ASTM D143 การแอ่นตัวในช่วงที่ยอมให้เท่ากับ L/360 หรือ 100/360 = 0.277 เซนติเมตร ผลการทดสอบพบว่าไม้ยางพาราประกอบเสริมกำลังด้วยไม้อัดทั้งสองรูปแบบรับน้ำหนักภายใต้แรงดัดได้สูงกว่าคานไม้ยางพาราประกอบที่ไม่มีการเสริมกำลัง คานไม้ประกอบที่ใช้กาวเป็นวัสดุประสานสามารถรับกำลังต้านทานแรงดัดสูงกว่าคานไม้ประกอบที่ใช้กาวร่วมกับตะปูเป็นวัสดุเชื่อมประสาน เนื่องจากไม้ยางพาราเป็นไม้เนื้ออ่อนมาก ทำให้กำลังต้านทานแรงเฉือนที่ผิวของตะปูได้น้อย ส่งผลให้กำลังรับแรงดัดของคานไม้ประกอบติดกาวร่วมกับตะปูมีค่าน้อยกว่าคานไม้ประกอบติดกาว

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-05

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>