การศึกษาความแม่นยำของวิธีการสำรวจแบบต่าง ๆ เพื่อการก่อสร้าง

ผู้แต่ง

  • มศวรรณ เสนาสวัสดิ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • ไพจิตร ผาวัน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ความแม่นยำและความเที่ยงตรง, อากาศยานไร้คนขับ, เครื่องรับสัญญานดาวเทียม, กล้องประมวลผลรวม, การวางแนวตำแหน่งหมุด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการวางแนวตำแหน่งหมุดอาคารเพื่อการก่อสร้างด้วยเครื่องมือสำรวจ โดยใช้หลักการทางสถิติวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีระบบจากผู้ทำการทดลอง ซึ่งเป็นเงื่อนไขการทดลองที่ควบคุมไม่ได้ ความคลาดเคลื่อนทำให้ค่าที่วัดได้มากกว่าหรือน้อยกว่าที่ควรเป็น การวิจัยเริ่มจากกำหนดตำแหน่งหมุดของอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีขนาดพื้นที่แตกต่างกัน 3 อาคาร โดยในขั้นตอนการวางตำแหน่งหมุดอาคารใช้เครื่องมือสำรวจ 4 ประเภท ได้แก่ อากาศยานไร้คนขับ เครื่องรับสัญญานดาวเทียม กล้องประมวลผลรวม กล้องวัดมุม จากการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความแม่นยำกับขนาดพื้นที่ วิธีที่ให้ความแม่นยำที่สุดคือ กล้องประมวลผลรวม วิธีเครื่องรับสัญญานดาวเทียม วิธีกล้องวัดมุม วิธีอากาศยานไร้คนขับ ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่าการเลือกใช้เครื่องมือสำรวจในการวางตำแหน่งหมุดอาคารเพื่อการก่อสร้าง ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของโครงการ

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08

วิธีการอ้างอิง

เสนาสวัสดิ์ ม., & ผาวัน ไ. (2023). การศึกษาความแม่นยำของวิธีการสำรวจแบบต่าง ๆ เพื่อการก่อสร้าง. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, CEM36–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2470

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##