กรอบงานการตรวจสอบข้อบกพร่องโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมตามหลัก 7-เครื่องมือควบคุมคุณภาพ
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากรอบงานการตรวจสอบข้อบกพร่องโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียม ตามหลัก 7-เครื่องมือควบคุมคุณภาพมาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบข้อบกพร่องในโครงการก่อสร้างอาคารคอนโดมิเนียม โดยที่จะสามารถพบเจอหลักการใช้ 7-เครื่องมือควบคุมคุณภาพในด้านอุตสาหกรรมโรงงานได้บ่อยครั้ง จึงถือว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่ในการนำมาใช้ควบคุมคุณภาพสำหรับโครงการก่อสร้าง จากแนวคิดในการนำ 7-เครื่องมือควบคุมคุณภาพในอุสาหกรรมก่อสร้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการตรวจสอบข้อบกพร่อง จากผลงานวิจัยในอดีตได้มีการนำเครื่องมือควบคุมภาพมาใช้เพียงไม่กี่ตัว ซึ่งจากเดิมที่มีอยู่ถึง 7 ตัว ก็ทำให้สามารถลดปัญหาข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีแนวคิดในการสร้างกรอบงานเพื่อให้สามารถใช้ 7-เครื่องมือควบคุมคุณภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีการพิจารณาลำดับขั้นตอนของ 7-เครื่องมือควบคุมคุณภาพ โดยได้จัดลำดับขั้นตอนในการพัฒนากรอบงานการตรวจสอบข้อบกพร่องตามลำดับแบ่งกรอบงานออกเป็น 3 ขั้นตอนหลักได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) และการรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Visualization) จากการจัดเรียงลำดับความสำคัญของเครื่องมือแล้ว การศึกษานี้ได้ทำการเก็บข้อมูลจากโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียม 31 ชั้น จำนวน 800 ยูนิต (A) ที่ไม่ได้ใช้กรอบงานการตรวจสอบข้อบกพร่องมีจำนวน 23,361 รายการ และโครงการคอนโดมิเนียม 37 ชั้น จำนวน 800 ยูนิต (B) ได้ใช้กรอบงานการตรวจสอบคุณภาพข้อบกพร่องมีจำนวน 31,207 รายการ พบว่าโครงการ (A) สามารถลดข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมได้ลดลง 47.86% (23,361 เหลือ 12,181) และโครงการ (B) สามารถลดข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมได้ลดลง 92.29% (31,207 เหลือ 2,405) แสดงให้เห็นว่าการนำกรอบงานการตรวจสอบข้อบกพร่องสามารถนำมาใช้ในโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่าโครงการที่ไม่ได้นำกรอบงานการตรวจสอบข้อบกพร่อง
จำนวนการดาวน์โหลด
Copyright (c) 2023 การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.