การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อประเมินความเสี่ยงโครงสร้างอาคารอนุรักษ์

ผู้แต่ง

  • คชานน ขวัญพฤกษ์
  • ไพจิตร ผาวัน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

แบบจำลองสารสนเทศอาคาร, อาคารอนุรักษ์, การประเมินความเสี่ยง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงโครงสร้างอาคารอนุรักษ์ โดยอาศัยกระบวนการแบบจำลองสารสนเทศอาคารช่วยในการวิเคราะห์องค์ประกอบของโครงสร้างอาคาร งานวิจัยเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยการทดสอบหาค่ากำลังอัดของคอนกรีตของ เสา คาน และพื้น จากนั้นทำการสำรวจขนาดหน้าตัด เสา คาน พื้น และขนาดความกว้าง ความยาว และความสูงของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น แล้วนำมาพัฒนาเป็นแบบจำลอง 3 มิติ ด้วยโปรแกรมจำลองสารสนเทศอาคาร(Software BIM) ผู้วิจัยได้กำหนดค่ากำลังดึงที่จุดครากของเหล็กเสริม คือ 2,400 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร สำหรับค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีตคือ 160 170 180 190 200 210 220 240 และ 300 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ลงในโปรแกรมจำลองสารสนเทศอาคาร พบว่า อาคารมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากความน่าจะเป็นที่องค์อาคาร (เสา) จะเสียหาย มี่ค่าเท่ากับ 0.0984 ที่กำลังอัดประลัยของคอนกรีต 150 160 และ170 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร อาคารมีความเสี่ยงปานกลาง เนื่องจากความน่าจะเป็นที่องค์อาคาร (พื้น) จะเสียหาย มี่ค่าเท่ากับ 0.1633 ที่กำลังอัดประลัยของคอนกรีต 150 160 และ 170 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และอาคารมีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากความน่าจะเป็นที่องค์อาคาร (คาน) จะเสียหาย มี่ค่าเท่ากับ 0.0727 ที่กำลังอัดประลัยของคอนกรีต 150 160 และ170 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากระบวนการแบบจำลองสารสนเทศอาคาร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารความเสี่ยงของอาคารได้เป็นอย่างดี

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08

วิธีการอ้างอิง

ขวัญพฤกษ์ ค., & ผาวัน ไ. (2023). การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อประเมินความเสี่ยงโครงสร้างอาคารอนุรักษ์. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, CEM45–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2482

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##