การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรีโมทเซนซิ่งเพื่อประเมินความชื้นและรอยแตกจากการแห้งระเหยของดินเม็ดละเอียด

ผู้แต่ง

  • ขจรศักดิ์ ศิริโรจน์วัฒนกูล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อภินิติ โชติสังกาศ
  • สรวิศ สุภเวชย์
  • กฤตนัย ต่อศรี
  • ณัฐสิทธิ์ ทองเลิศ

คำสำคัญ:

รีโมทเซนซิ่ง, รอยแตกในดิน, การประเมินความชื้น, ดินเม็ดละเอียด

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการศึกษาพฤติกรรมการอุ้มความชื้นของดินเม็ดละเอียดที่ทำให้เกิดการบวมและหดตัว จนเกิดรอยแตก (Crack) ขึ้นในดิน รวมถึงเสนอแบบจำลองเพื่อประมาณค่าความลึกรอยแตกในดิน ด้วยการประยุกต์ทฤษฎีกลศาสตร์ของดินไม่อิ่มตัวด้วยน้ำ (Unsaturated soils mechanics) นอกจากนี้ยังใช้ข้อมูลความชื้นจากเทคโนโลยีรีโมทเซนซิ่ง (Remote sensing technology) โดยการสอบเทียบข้อมูลความชื้นจากเทคโนโลยีรีโมทเซนซิ่งและอุปกรณ์ตรวจวัดความชื้นภาคสนาม แล้วแปลงเป็นค่าแรงดูดในดิน (Soil suction) ที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงของความชื้นนั้น โดยอาศัยเส้นอัตลักษณ์ของดิน Soil Water Characteristic Curve (SWCC) ที่ได้จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ในการวิเคราะห์หาความลึกของรอยแตกที่เกิดขึ้นโดยทฤษฎีอิลาสติก

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-20

วิธีการอ้างอิง

[1]
ศิริโรจน์วัฒนกูล ข., โชติสังกาศ อ., สุภเวชย์ ส. ., ต่อศรี ก. ., และ ทองเลิศ ณ. ., “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรีโมทเซนซิ่งเพื่อประเมินความชื้นและรอยแตกจากการแห้งระเหยของดินเม็ดละเอียด”, ncce27, ปี 27, น. GTE13–1, ก.ย. 2022.

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##