ผลกระทบต่อพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล โดยการรังวัดด้วยวิธีแผนที่ชั้นหนึ่งด้วยระบบ โครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network)
คำสำคัญ:
Combine Scale Factor, Inverse Distance Weighted, พิกัดยูทีเอ็ม, พื้นที่หดตัวหรือพื้นที่ยืดตัวบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หาค่า Combine Scale Factor และออกแบบเครื่องมือหาพื้นที่หดตัวหรือพื้นที่ยืดตัวในโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (QGIS) บนพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล โดยใช้ข้อมูลจากโครงการสำรวจค่าระดับพื้นผิวประเทศไทยเพื่อทำฝายกั้นน้ำของกรมแผนที่ทหาร ข้อมูลทาง ตำแหน่งจะแสดงค่าพิกัดทางราบ (False Northing , False Easting) ความสูงเหนือทรงรี (h) และความสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง (MSL) การ คำนวณหาค่า Combine Scale Factor จะใช้ Geoid Model มาเป็นพื้นฐานของแนวคิดงานวิจัยเพื่อต้องการลดทอนระยะราบบนพื้นที่ภูมิประเทศ (Ground Distance) ไปยังระยะราบบนกริดยูทีเอ็ม (Grid Distance) เมื่อคำนวณได้ค่า Combine Scale Factor ทุกตำแหน่งบนพื้นที่กรุงเทพและ ปริมณฑล ทำการออกแบบเครื่องมือหาพื้นที่หดตัวหรือพื้นที่ยืดตัว โดยชุดข้อมูลทางตำแหน่งนั้นมีระยะทางห่างกันประมาณ 4 กิโลเมตร จึงต้องใช้การ ประมาณค่าในช่วงมาช่วยเพิ่มความถูกต้อง โดยจะใช้การประมาณค่าในช่วงวิธี Inverse Distance Weighted (IDW) รูปแบบตารางกริดประมาณ 1*1 กิโลเมตรของพื้นที่วิจัย ผลการวิจัย 1). ได้ค่า Combine Scale Factor บนพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล เพื่อนำไปใช้งานร่วมกับกล้องสำรวจประมวล ผลรวม (Total Station) ในงานก่อสร้างของงานอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ 2). ได้เครื่องมือหาพื้นที่หดตัวหรือพื้นที่ยืดตัวบนโปรแกรมระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ (QGIS) เมื่อทำการพล็อตรูปแปลงที่ดินบนแผนที่ โปรแกรมจะบอกพื้นที่บนพิกัดยูทีเอ็มและพื้นที่บนผิวภูมิประเทศ ทำการเปรียบเทียบพื้นที่ก็จะ ทราบว่าพื้นที่บนพิกัดยูทีเอ็มนั้นหดตัว (-) หรือพื้นที่ยืดตัว (+) ตามพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์