อิทธิพลของวัสดุป้องกันการกัดเซาะและพืชพรรณต่อพารามิเตอร์การกัดเซาะของดิน จากการทดสอบในห้องปฎิบัติการ
คำสำคัญ:
การกัดเซาะ, submerged jet test, แผ่นป้องกันการกัดเซาะ, วัสดุป้องกันการกัดเซาะ, หญ้ารูซี่บทคัดย่อ
การกัดเซาะเป็นจุดเริ่มต้นของการพิบัติทางธรณีเทคนิคหลาย ๆ รูปแบบเช่น ดินถล่ม การพิบัติของเขื่อนจากการกัดเซาะภายใน รวมถึงการถดถอยของตลิ่งแม่น้ำ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อชีวิตและทรัพย์สิน ปัจจุบันได้มีการใช้พืชพันธุ์ร่วมกับวิธีทางวิศวกรรมเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการกัดเซาะอย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยครั้งนี่ได้ทำการทดสอบการกัดเซาะโดยใช้เครื่องมือ Submerged jet device ตัวอย่างดินแบบเปลี่ยนสภาพจากทางหลวงมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 กรุงเทพฯ – พัทยา ถูกเก็บมาทำการทดสอบการกัดเซาะด้วยเครื่องมือ Submerged Jet device เพื่อหาค่าพารามิเตอร์ของการกัดเซาะของดิน (หน่วยแรงเฉือนวิกฤตและสัมประสิทธิ์การกัดเซาะ) โดยทำการทดสอบทั้งกรณีสภาพดินเปลือยและดินที่ถูกปกคลุมด้วยวัสดุป้องกันการกัดเซาะ ได้แก่ ผ้าห่มดินร่วมกับหญ้ารูซี่ และแผ่นป้องกันการกัดเซาะร่วมกับหญ้าเบอร์มิวดา ผลการทดสอบพบว่า หน่วยแรงเฉือนวิกฤตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อมีการปกคุลมหน้าดินด้วยวัสดุป้องกันการกัดเซาะ อีกทั้ง การมีหญ้ารูซี่ปกคลุมดินเป็นตัวช่วยลดค่าสัมประสิทธิ์การกัดเซาะของดิน ผลการทดสอบบ่งชี้ถึงประสิทธิผลที่ดีของวิธีการใช้พืชพันธุ์ร่วมกับวิธีทางวิศวกรรมในการป้องกันและลดความรุนแรงของการกัดเซาะ
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์