การศึกษาการปรับแก้การสะท้อนในชั้นบรรยากาศด้วยเครื่องมือเซนทูคอร์

ผู้แต่ง

  • ภูกฤษ ศรีวิลาศ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สรวิศ สุภเวชย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อนุเผ่า อบแพทย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

เซนทูคอร์, ข้อมูลเหนือชั้นบรรยากาศ, ปริมาณละอองลอยในชั้นบรรยากาศ, ความสูงภูมิประเทศ, ด๊อปสัน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปรับแก้การสะท้อนของข้อมูลที่ได้จากดาวเทียม Sentinel-2 ข้อมูลบนชั้นบรรยากาศ (Top of Atmosphere : TOA) เป็นข้อมูลใต้ชั้นบรรยากาศ (Bottom of Atmosphere : BOA) ด้วยเครื่องมือเซนทูคอร์ จากการศึกษาพบว่าเครื่องมือเซนทูคอร์ สามารถปรับเงื่อนไขการประมวลผลปรับแก้ (Configuration : L2A_GIPP.xml) ให้สอดคล้องไปตามพื้นที่ได้ ทั้งหมด 2 เงื่อนไข ได้แก่ คำนวณร่วมกับค่า ความสูงภูมิประเทศ (DEM) และปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศ นอกจากนั้นในงานวิจัยนี้จะแสดงผลลัพธ์ข้อมูลหลังการปรับค่าพื้นฐาน โดยใช้วิธีการ เปรียบเทียบเชิงสถิติจากการทดสอบปรับแก้เงื่อนไขความสูงภูมิประเทศในพื้นที่ลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ พื้นที่สูงบริเวณภาคเหนือ พื้นที่ราบลุ่มบริเวณภาค กลาง พื้นที่ราบภาคอีสาน และพื้นที่บริเวณภาคใต้ ความสูงภูมิประเทศในแต่ละพื้นที่มีความสัมพันธ์กับค่าความแตกต่างของประมาณละอองลอยใน บรรยากาศ (Aerosol Optical Thickness : AOT) ระหว่างข้อมูลที่ไม่ได้ใส่เงื่อนไขความสูงภูมิประเทศกับข้อมูลที่ใส่เงื่อนไขความสูงภูมิประเทศ มีค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในพื้นที่ทดสอบอยู่ระหว่าง - 0.82 ถึง - 0.95 สำหรับปริมาณโอโซนในประเทศไทยที่ตั้งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรมีปริมาณโอโซนในชั้น บรรยากาศอยู่ระหว่าง 235 – 275 ด็อปสัน จึงต้องคำนวณหาค่าปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ประเทศไทย โดยได้สร้าง สมการแบบจำลองคำนวณปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศพื้นที่ประเทศไทย y = 2E-05x3 - 0.0105x2 + 1.3818x + 320.22 โดย x แทน วันของปี (Day of Years), y แทน ปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศของพื้นที่ประเทศไทยหน่วยเป็นด็อปสัน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

ฉบับ

บท

วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##