ผลกระทบของอุณหภูมิต่อประสิทธิภาพของวัสดุชั้นรองพื้นทางที่มีวัสดุผิวทางเก่าเป็นส่วนผสม
คำสำคัญ:
วัสดุผิวทางเก่า, ผลกระทบจากอุณหภูมิ, ชั้นรองพื้นทาง, ปริมาณผิวทางเก่าบทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิต่อประสิทธิภาพของวัสดุชั้นรองพื้นทางที่มีวัสดุผิวทางเก่าเป็นส่วนผสม โดยวัสดุผิวทางเก่าจะถูกผสมเข้ากับดินเม็ดละเอียดชนิด Low Plasticity Clay เพื่อให้มีขนาดคละเป็นไปมาตรฐานชั้นรองพื้นทางของกรมทางหลวง ทั้งหมด 4 อัตราส่วน ประกอบด้วยวัสดุที่มีผิวทางเก่าเป็นส่วนผสมร้อยละ 95, 85, 75, และ 50 โดยน้ำหนัก นำส่วนผสมทั้งหมดมาทดสอบการบดอัดแบบสูงกว่ามาตรฐานเพื่อหาค่าความหนาแน่นแห้งสูงสุดและปริมาณน้ำที่เหมาะสม นำส่วนผสมที่ทำการบดอัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนผสมละ 3 ตัวอย่าง ไปอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสหนึ่งชุด และ 150 องศาเซลเซียสอีกหนึ่งชุด เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วนำตัวอย่างชุดดังกล่าวไปทดสอบเพื่อหาค่าซีบีอาร์ กำลังรับแรงอัดแกนเดียว และกำลังรับแรงดึงทางอ้อม นอกจากตัวอย่างชุดที่อบด้วยอุณหภูมิ 60 และ 150 องศาเซลเซียสแล้ว ตัวอย่างที่ไม่ได้ทำการอบด้วยอุณหภูมิสูงอีกหนึ่งชุดจะถูกนำไปทดสอบประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน นำผลการทดสอบทั้งหมดมาประเมินเปรียบเทียบประสิทธิภาพอันเนื่องจากผลกระทบของอุณหภูมิและปริมาณของวัสดุผิวทางเก่า ผลการทดสอบพบว่าพฤติกรรมการรับแรงของวัสดุขึ้นอยู่กับความหนาแน่นแห้งสูงสุดของวัสดุมวลรวม และเมื่อส่วนผสมที่มีผิวทางเก่าเป็นส่วนผสมได้ถูกอบที่อุณหภูมิที่สูงขึ้นแล้วพฤติกรรมการรับแรงของวัสดุมวลรวมจะขึ้นอยู่กับปริมาณวัสดุผิวทางเก่าที่อยู่ในอัตราส่วนผสม ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นแห้งเพียงอย่างเดียว ผลการทดสอบในงานวิจัยนี้สรุปได้ว่าอุณหภูมิที่ 60 องศาเซลเซียล ส่งผลให้ส่วนผสมระหว่างวัสดุผิวทางเก่าต่อดินเหนียวที่อัตราส่วน 75:25 และอุณหภูมิที่ 150 องศาเซลเซียล ที่อัตราส่วนผสม 75:25 ที่การทดสอบCBR วัสดุจะรับแรงได้มาก
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์