การศึกษาประสิทธิภาพการดักจับและการบรรเทาภัยของวัสดุเม็ดแห้งผสมเศษท่อนไม้เมื่อผ่านช่องเปิด
คำสำคัญ:
การไหลของเศษซาก, ประสิทธิภาพการดักจับ, การบรรเทาภัย, ฝายช่องเปิดบทคัดย่อ
บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ศึกษาประสิทธิของฝายชะลอน้ำแบบเปิดในการดักจับและการบรรเทาภัยดินถล่มและการไหลหลากของดินโคลน โดยใช้วัสดุเม็ดแห้งผสมเศษท่อนเป็นวัสดุทดลองการไหลในรางเพื่อทดสอบฝายช่องเปิด 2 รูปแบบได้แก่ รูปแบบตัวอัลฟา และรูปแบบตัววี ฝายช่องเปิดแต่ละรูปแบบมีมุมภายใน 80 90 และ 100 องศา และความลาดชันพื้นผิวการไหล 25, 30 และ 35 องศา ดำเนินการติดตั้งฝายช่องเปิดไว้ด้านหน้าและติดตั้งฝายวัดแรงกระแทกไว้ข้างหลังเพื่อวัดแรงกระแทกในการบรรเทาภัยของฝายช่องเปิด ผลการทดลองการไหลของเศษซากเข้าหาฝายวัดแรงกระแทกจะเกิดแรงดันต่อฝายวัดแรงกระแทกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเมื่อเวลาผ่านไป เศษซากที่เคลื่อนตัวเข้าหาฝายวัดแรงกระแทกจะพัฒนาทับถมและจะเกิดแรงดันด้านข้างจากฝายวัดแรงกระแทกต้านการเคลื่อนตัวของตัวมันเองก่อนหน้านี้จึงทำให้แรงที่กระทำต่อฝายวัดแรงกระแทกลดลง ประสิทธิภาพการดักจับและการบรรเทาภัยของฝายช่องเปิดไม่แน่นอนเมื่อความลาดชันการไหลต่างกัน ดังนั้นการประยุกต์รูปแบบฝายควรใช้ให้สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่นั้น
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์